Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เหตุผลยูฟ่าไม่ให้เยอรมนีเปิดไฟสีรุ้งเจอฮังการี – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

ยูฟ่า เผยเหตุผลทำไมไม่ให้ เยอรมนี เปลี่ยนไฟสนามเป็นสีรุ้งในเกมพบ ฮังการี วันพุธนี้

    สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ปฎิเสธที่จะให้นครมิวนิค ประเทศเยอรมนี เปลี่ยนไฟสนาม อัลลิอันซ์ อารีน่า เป็นสีรุ้ง ในเกม ยูโร 2020 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม เอฟ นัดสุดท้าย ระหว่าง “อินทรีเหล็ก” กับทีมชาติฮังการี วันพุธที่ 23 มิถุนายนนี้ เนื่องจากเห็นว่าแฝงนัยยะทางการเมือง

    ก่อนหน้านี้สภาเมืองมิวนิค ได้เสนอให้มีการจัดแต่งแสงสีไฟรอบสนามเป็นสีรุ้ง เพื่อแสดงการสนับสนุนกลุ่มแอลจีบีทีคิว หลังจากรัฐบาลฮังการีเพิ่งออกกฎหมายกีดกันกลุ่มรักร่วมเพศและบุคคลข้ามเพศเมื่อไม่นานนี้ด้วยการห้ามเผยแพร่เนื้อหาที่เข้าข่ายส่งเสริมเยาวชนให้มีแนวคิดรัก​ร่วมเพศในโรงเรียนกับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

    ขณะที่ มานูเอล นอยเออร์ ผู้รักษาประตูกัปตันทีมชาติเยอรมนี ก็ใส่ปลอกแขนเป็นสีรุ้ง เพื่อสนับสนุนกลุ่มแอลจีบีทีคิว ในการเล่น 2 นัดที่ผ่านมา ซึ่ง ยูฟ่า มองว่าไม่ได้เป็นความผิด แต่กับความคิดเปลี่ยนไฟสนาม อัลลิอันซ์ อารีน่า เป็นสีรุ้งกลับเห็นว่าข้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

    องค์กรลูกหนังยุโรปแถลงว่า “ยูฟ่า เป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา จากบริบททางการเมืองของคำขอนี้ โดยมีข้อความที่สื่อไปถึงการตัดสินใจของรัฐสภาแห่งชาติฮังการี ส่งผลให้ ยูฟ่า ต้องปฏิเสธคำขอนี้” 

    “อย่างไรก็ตาม ยูฟ่า เสนอให้เมืองมิวนิค ส่องสว่างสนามกีฬาด้วยสีรุ้งในวันที่ 28 มิถุนายน วันประกาศอิสรภาพถนนคริสโตเฟอร์ หรือระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคมในสัปดาห์แห่งความภาคภูมิใจมิวนิค” ยูฟ่า ทิ้งท้าย

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.