Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

สู้ได้ไหม..ดูผลงานทีมคู่แข่งสโมสรไทย เมื่อเจอตัวแทนไทยในชปล. – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

ศึกฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย รายการ เอเอฟซี แชมป์เปี้ยนส์ลีก 2021 ที่จะเริ่มทำการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มโซนตะวันออกในระหว่างวันที่ 22 มิ.ย.64 – 11 ก.ค.64 เพื่อคัดเลือกทีมเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายต่อไป โดย 4 สโมสรจากไทยที่จะลงทำการแข่งขันฤดูกาลนี้ประกอบไปด้วย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด, การท่าเรือ เอฟซี, ราชบุรี มิตรผล เอฟซี และ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด สโมสรจากเมืองไทยได้โควตา 2+2 รอบแบ่งกลุ่ม 2 ทีม เพลย์ออฟ2 ทีม ฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยกำหนดโควตาให้ทีมอันดับ 1-4 ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2020-21 เลกแรกคว้าสิทธิ์ดังกล่าว หลังจบเลกแรกบีจี เข้มามาเป็นอันดับ 1 ท่าเรือ 2 ได้สิทธิ์ เล่นรอบแบ่งกลุ่ม ส่วน ราชบุรี และ เชียงราย เล่นรอบเพลย์ออฟ

    GROUP F(แข่งขันที่ประเทศไทย) : บีจี ปทุมยูไนเต็ด (ไทย), อุลซาน ฮุนได(เกาหลีใต้), เวียดเทล(เวียดนาม), ทีมเพลย์ออฟ(เซียงไฮ้ พอร์ท(จีน)- คายา ซิตี้(ฟิลิปปินส์)

    GROUP G (แข่งขันที่ประเทศไทย) : ราชบุรี เอฟซี(ไทย), โปฮัง สตีลเลอร์(เกาหลีใต้), นาโกย่า แกรมปัส(ญี่ปุ่น), ยะโฮร์ ดารุล ทาซิม(มาเลเซีย)

    GROUP H (แข่งขันที่ประแทศอุซเบกิสถาน) : เชียงราย ยูไนเต็ด(ไทย), ชนบุค ฮุนได มอร์เตอร์(เกาหลีใต้), กัมบะ โอซาก้า(ญี่ปุ่น), แทมปิเนส โรเวอร์(สิงคโปร์)

    GROUP J(แข่งขันที่ประเทศไทย) : ท่าเรือ(ไทย), กว่างโจวฯ(จีน), คิตฉี(ฮ่องกง), เซเรโซ่ โอซาก้า(ญี่ปุ่น)

     แต่ช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายในโลกฟุตบอล ตั้งแต่เรื่องของแชมป์ลีกจีน เจียงซู สู้หนิง ประกาศยุบทีม เอพิล-25  เกาหลีเหนือ คลับไลเซนส์ซิ่งไม่ผ่านและล่าสุด 3ทีมจากออสเตรเลียถอนทีมจากการแข่งขัน ส่งผลให้ 2 ทีมเพลย์ออฟไทยได้สิทธิ์เล่นรอบแบ่งกลุ่มแบบส้มหล่น   แม้ว่าจะมีเหตุการร์ส้มหล่นเกิดขึ้นแต่ทุกอย่างต้องเดินต่อวันนี้ลองไปดูคู่แข่งของตัวแทนจากสโมสรไทยทั้ง 4 ทีมกันว่ายามลงแข่งขันถ้วยเอเชียทีมเหล่านี้โชว์ผลงานได้ดีแค่ไหนเมื่อลงสนามพบกับสโมสรฟุตบอลจากเมืองไทย

    ผลงาน 4 คู่แข่งบีจีพบสโมสรไทยในเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก กลุ่ม เอฟ

    อุลซาน ฮุนได(เกาหลีใต้):2 ครั้ง   เสมอ 1 แพ้ 1 ยิง 0 เสีย 1

    เสมอ เมืองทอง ยูไนเต็ด 0-0(รอบแบ่งกลุ่ม 2017-เหย้า)

     แพ้  เมืองทอง ยูไนเต็ด 0-1(รอบแบ่งกลุ่ม 2017-เยือน)

    เซี่ยงไฮ้ พอร์ต เอฟซี(จีน): 4 ครั้ง ชนะ 4 ยิง 10  เสีย 0

    ชนะ เมืองทอง ยูไนเต็ด 3-0(เพลย์ออฟ2016)

    ชนะ สุโขทัย เอฟซี 3-0(เพลย์ออฟ2017)

    ชนะ เชียงราย ยูไนเต็ด 1-0(เพลย์ออฟ)

    ชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 3-0(เพลย์ออฟ2020)

    เวียดเทล(เวียดนาม):  0  ครั้ง

    คายา เอฟซี(ฟิลิปปินส์):0 ครั้ง

    ผลงาน 3 คู่แข่งราชบุรี เอฟซี พบสโมสรไทยในเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก กลุ่ม จี

    โปฮัง สตีลเลอร์(เกาหลีใต้): 3 ครั้ง ชนะ 2 เสมอ 1 ยิง 4 เสีย 1

    ชนะ ชลบุรี เอฟซี 2-0(เพลย์ออฟ 2012)

    เสมอ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 0-0(รอบแบ่งกลุ่ม 2014-เหย้า)

    ชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-1(รอบแบ่งกลุ่ม 2014-เยือน)

    ยะโฮร์ ดารุล ทาซิม(มาเลเซีย): 4 ครั้ง ชนะ 1แพ้ 3 ยิง 3 เสีย 11

    แพ้ บางกอกกล๊าส 0-3(เพลย์ออฟ2015)

    แพ้จุดโทษ เมืองทอง ยูไนเต็ด 0-3(0-0)-(เพลย์ออฟ 2016)

    ชนะจุดโทษ แบงค็อก ยูไนเต็ด 5-4(1-1)-(เพลย์ออฟ 2017)

    แพ้ เมืองทอง ยูไนเต็ด 2-5(เพลย์ออฟ 2018)

    นาโกย่า แกรมปัส(ญี่ปุ่น): 0 ครั้ง

     ผลงาน 3 คู่แข่งเชียงราย ยูไนเต็ด  พบสโมสรไทยในเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก กลุ่ม เอช

    ชนบุค ฮุนได มอร์เตอร์(เกาหลีใต้):10 นัด ชนะ 6 เสมอ 2 แพ้ 2 ยิง 21 เสีย 8

    ชนะ เทโรฯ 4-0(รอบแบ่งกลุ่ม 2004-เหย้า)

    ชนะ เทโรฯ 4-0 (รอบแบ่งกลุ่ม 2004-เยือน)

    ชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 3-2 (รอบแบ่งกลุ่ม 2012-เหย้า)

    ชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-0(รอบแบ่งกลุ่ม 2012-เยือน)

    ชนะ เมืองทอง ยูไนเต็ด 2-0 (รอบแบ่งกลุ่ม 2013-เหย้า)

    เสมอ เมืองทอง ยูไนเต็ด 2-2(รอบแบ่งกลุ่ม 2013-เยือน)

    ชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-0 (รอบ 16 ทีม 2018-เหย้า)

    แพ้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-3(รอบ 16 ทีม 2018-เยือน)

    เสมอ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 0-0 (รอบแบ่งกลุ่ม 2019-เหย้า)

    แพ้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 0-1 (รอบแบ่งกลุ่ม 2019-เยือน)

    กัมบะ โอซาก้า(ญี่ปุ่น) : 4 เกม ชนะ 2 เสมอ 2 แพ้ 0

    เสมอ ชลบุรี เอฟซี 1-1(รอบแบ่งกลุ่ม 2008-เหย้า)

    ชนะ ชลบุรี เอฟซี 2-0(รอบแบ่งกลุ่ม 2008-เยือน)

    เสมอ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1-1(รอบแบ่งกลุ่ม 2015-เหย้า)

    ชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-1(รอบแบ่งกลุ่ม 2015-เยือน)

    แทมปิเนส โรเวอร์(สิงคโปร์): 0 ครั้ง

    ผลงาน 3 คู่แข่งท่าเรือ   พบสโมสรไทยในเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก กลุ่ม เจ

    กว่างโจวฯ(จีน): 6 ครั้ง ชนะ 3 เสมอ 2แพ้ 1

    แพ้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1-2(รอบแบ่งกลุ่ม2012-เหย้า)

    ชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-1(รอบแบ่งกลุ่ม 2012-เยือน)

    ชนะ เมืองทอง ยูไนเต็ด 4-0(รอบแบ่งกลุ่ม2013-เหย้า)

    ชนะ เมืองทอง ยูไนเต็ด 4-1(รอบแบ่งกลุ่ม2013-เยือน)

    เสมอ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1-1(รอบแบ่งกลุ่ม 2018 เหย้า)

     เสมอ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1-1(รอบแบ่งกลุ่ม 2018 เยือน )

    เซเรโซ่ โอซาก้า(ญี่ปุ่น): 4 ครั้ง ชนะ 1 เสมอ 2 แพ้ 1 ยิง 8 เสีย 6

    ชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 4-0(รอบแบ่งกลุ่ม 2014-เหย้า)

    เสมอ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-2 (รอบแบ่งกลุ่ม 2014-เยือน)

    เสมอ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-2(รอบแบ่งกลุ่ม 2018-เหย้า)

    แพ้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 0-2(รอบแบ่งกลุ่ม 2018-เยือน)

    คิตฉี(ฮ่องกง):1 ครั้ง แพ้ 1 ยิง 1 เสีย 4

    แพ้ ชลบุรี เอฟซี 1-4(รอบก่อนรอบเพลย์ออฟ 2015-เยือน)

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.