“พ่อมดขาว”โบกมือลาทีมชาติเวียดนาม – สยามกีฬา
ฟิลิปส์ ทรุสซิเยต์ กุนซือชาวฝรั่งเศสเจ้าของฉายา “พ่อมดขาว”ที่ประสบความสำเร็จมากมายในการวางระบบฟุตบอลให้กับญี่ปุ่น จนก้าวมาไกลถึงระดับหนึ่งของเอเชีย ก่อนหน้านี้ได้เซ็นสัญญาคุมทัพเยาวชน 19 ปี ทีมชาติเวียดนาม เพื่อลุยศึกชิงแชมป์เอเชีย แต่เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รายการนี้ที่จะจัดในประเทศอุซเบกิสถานได้ถูกยกเลิกไป
ล่าสุด ฟิลิปส์ ทรุสซิเยต์ กุนซือชาวฝรั่งเศส หมดสัญญากับการเป็นโค้ชเยาวชน 19 ปี ทีมชาติเวียดนาม พร้อมกับ การยุติการทำงานฟุตบอลในเวียดนามให้กับ PVF ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาฟุตบอลอาชีพ โดย PVF มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและไม่พร้อมจะจ่ายค่าเหนื่อยให้กับ พ่อมดขาว”จึงแยกทางกันในที่สุด
สำหรับ ทรุสซิเยต์ วัย 63 ปี ประสบความสำเร็จจากการนำทีมชาติญี่ปุ่นคว้าแชมป์เอเชียน คัพ 2000 และยังเคยรับงานคุมทีมชาติต่างๆ อาทิ กาตาร์,โมรอคโก,ไอเวอร์รี่โคส,บูกินาฟาโซ,ไนจีเรีย,แอฟริกาใต้
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.