“ช้างศึก” ตรวจโควิด-19 ก่อนลงทำศึกฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก ชน “อินโดนีเซีย” 3 มิ.ย.นี้ – สยามกีฬา
ทัพช้างศึกเดินทางถึงโรงแรมที่พักที่ฝ่ายจัดการแข่งขันจัดเตรียมไว้ให้ ก่อนเข้าสู่ทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง จากนั้นอากิระ นิชิโนะ กุนซือทีมชาติไทย พร้อมด้วยแข้ง ช้างศึก ทั้ง 41 คน เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 4 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลงเล่นในศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง กับโปรแกรมที่เหลืออีก 3 นัด เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
โดยการตรวจหาเชื้อโควิดของนักฟุตบอลทีมชาติไทย มีกำหนดการตรวจหาเชื้อก่อนเกมการแข่งขันอย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนลงแข่งขันนัดที่ 6 พบกับทีมชาติ อินโดนีเซีย
ซึ่งผลตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 จะทราบผลใน 12 ชั่วโมงหลังการตรวจ หากนักเตะคนไหนมีผลเป็นบวก จะถูกกักตัวจนกว่าจะไม่พบเชื้อในร่างกาย ขณะเดียวกันหากผลตรวจออกมาเป็นลบ ทุกคนจะสามารถลงแข่งขันกับ อินโดนีเซีย ต่อไป
สำหรับ ทีมชาติไทย มีโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง โดยมีโปรแกรมการแข่งขันดังนี้
วันที่ 3 มิถุนายน 2564
ทีมชาติไทย พบ อินโดนีเซีย เวลา 23.45 น. ณ สนามอัล มัคตูม
วันที่ 7 มิถุนายน 2564
ยูเออี พบ ทีมชาติไทย เวลา 23.45 น. ณ สนามซาบีล
วันที่ 15 มิถุนายน 2564
ทีมชาติไทย พบ มาเลเซีย เวลา 23.45 น. ณ สนามอัล มัคตูม
ภาพ FA Thailand
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.