พิษโควิด-19! ยกเลิกจัดฟุตบอลไทยแลนด์อเมเจอร์ลีกเป็นปีที่สอง – ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์
นายวรงค์ ทิวทัศน์ เลขานุการฝ่ายจัดการแข่งขัน บริษัท ไทยลีก จำกัด กล่าวว่า จากที่ได้หารือกับการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) หน่วยงานที่รับนโยบายจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) จากสถานการณ์ปัจจุบันยังมีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีแนวโน้มจะลดลง ฝ่ายจัดการแข่งขันต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาเชื้อ การปิดสนามกีฬา การห้ามการรวมตัวเกิน 20 คน การแข่งขันแบบปิด
เลขานุการไทยลีก กล่าวต่อว่า ด้วยข้อจำกัดและอุปสรรคดังกล่าว และเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อส่วนรวมด้านความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องยกเลิกการจัดการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์อเมเจอร์ลีก ซึ่งมีทีมสมัครเข้าร่วมการแข่งขันถึง 179 ทีม ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งเหตุผลสำคัญอีกประการที่ทางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ บจก.ไทยลีก ให้ความสำคัญกับสโมสรสมาชิก คือ ภาระค่าใช้จ่ายในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งนี้ จะมีดำเนินการคืนเงินค่าสมัครเข้าร่วมการแข่งขันและเงินประกันให้กับสโมสรต่อไป
สำหรับค่าสมัครการแข่งขัน ทีมละ 1 หมื่นบาท และเงินประกันอีก 1 หมื่นบาท ซึ่งการที่ไม่มีศึกไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ทำให้คาดว่าฟุตบอลไทยลีก 3 ฤดูกาล 2020-21 จะไม่มีทีมตกชั้น
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.