Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

แมนยู,ลิเวอร์พูลไม่รอด!ยูฟ่าลงดาบ9จาก12สโมสรจัดตั้งซูเปอร์ลีก – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

ยูฟ่า ประกาศบทลงโทษ 9 จาก 12 สโมสรที่ร่วมก่อตั้งศึก ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก ออกมาเป็นที่เรียบร้อย งานนี้ แมนยู กับ ลิเวอร์พูล โดนด้วย ส่วนอีก 3 สโมสรที่ยังดื้อดึง ส่อแววโดนจัดหนัก

     สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ประกาศยืนยัน เมื่อวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม ที่ผ่านมาว่า ได้มีบทลงโทษด้านการเงินกับ 9 จาก 12 สโมสรที่ร่วมก่อตั้งศึก ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก เมื่อช่วงกลางเดือนเมษายน เป็นที่เรียบร้อย 

     9 สโมสรดังกล่าวประกอบไปด้วย เอซี มิลาน, อินเตอร์ มิลาน, แอตเลติโก มาดริด บวกกับ “บิ๊กซิกซ์” ในเวที พรีเมียร์ลีก อังกฤษ อย่าง ลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, แมนเชสเตอร์ ซิตี้, เชลซี, อาร์เซน่อล และ ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ ซึ่งสโมสรเหล่านี้ได้ขอถอนตัวจากโครงการ ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก 48 ชั่วโมง หลังจากที่ได้มีการประกาศจัดตั้งการแข่งขันดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา

     สำหรับบทลงโทษนั้น ยูฟ่า ระบุว่า สโมสรทั้งหมดนี้ได้ตกลงที่จะช่วยระดมทุนให้ครบ 15 ล้านยูโร (ประมาณ 570 ล้านบาท) เพื่อนำไปช่วยเด็กๆ และเยาวชน รวมถึงการช่วยวงการฟุตบอลระดับรากหญ้าทั่วทวีปยุโรป นอกจากนี้พวกเขาจะถูกหักรายได้ 5% ที่ได้จากการแข่งขันถ้วยยุโรปเป็นเวลา 1 ฤดูกาลอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปจัดสรรใหม่ 

     ทั้งนี้ 3 สโมสรที่ยังดื้อดึง และไม่ยอมถอนตัวจาก ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก อย่าง เรอัล มาดริด, บาร์เซโลน่า และ ยูเวนตุส เตรียมที่จะถูกลงโทษด้านวินัยตามกระบวนการของ ยูฟ่า 

 

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.