Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“ซิโก้” ไขคำตอบ เวียดนามคุมโควิดอย่างไร แฟนบอลถึงเข้าชมได้เป็นหมื่นคน

Football Sponsored
Football Sponsored

สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ยังคงน่าเป็นห่วง ซึ่งส่งผลให้การแข่งขันฟุตบอลในช่วงโค้งสุดท้ายในประเทศไทย ต้องแข่งขันแบบไม่มีแฟนฟุตบอล แต่ขณะเดียวกัน ที่ฟากฝั่งของเวียดนาม สถานการณ์การแข่งขันฟุตบอลที่นั่น ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนสำคัญคือ กระแสความตื่นตัวของฟุตบอล วี-ลีก และบุคคลที่ถือว่ามีส่วนสำคัญ คือ “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ที่สามารถยกระดับการแข่งขันได้แบบก้าวกระโดด

“ซิโก้” ได้เปิดเผยเรื่องราวที่สำคัญของการแข่งขันฟุตบอล วี-ลีก ที่ในขณะนี้มาตรฐานจัดการแข่งขันแทบไม่ต่างจากไทยลีก พร้อมทั้งชื่นชมมาตรการป้องกันโควิด-19 ของประเทศเวียดนาม ผ่านทางบทสัมภาษณ์ในสื่อของ Sport Hero โดยมีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ 

ไม่กี่ลีกในโลกให้แฟนเข้าชมเต็มสนาม

“ก่อนอื่นต้องบอกว่า พี่เคยให้สัมภาษณ์ไว้แล้วว่า เวียดนามน่าจะเป็นไม่กี่ลีกในโลก ที่สามารถให้คนเข้าชมฟุตบอลได้เต็มสนาม มาตรการสาธารณสุขของเขาเข้มงวดและรวดเร็วมาก”

เราจะเห็นว่า จากเกมวี-ลีก ที่ฮองอันห์ยาลาย เล่นในบ้านพบกับ ฮานอย เอฟซี เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา แฟนฟุตบอลเข้าไปให้กำลังใจ “ซิโก้” เต็มความจุสนาม “เปรกู สเตเดี้ยม” จำนวน 7,000 ที่นั่ง อีกทั้งแฟนฟุตบอลยังมาเข้าคิวรอซื้อตั๋วกันจำนวนมาก ส่วนสำคัญก็คือ แฟนฟุตบอลเหล่านี้เอง ก็มีความมั่นใจในมาตรการโควิด-19 ของประเทศของเขาด้วย 

มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด

โค้ช “ซิโก้” กล่าวด้วยว่า มาตรการที่เวียดนามนั้น ค่อนข้างรวดเร็ว เพราะถึงแม้ว่า ประเทศเวียดนามจะผ่านสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อในประเทศมาแล้ว 3 ระลอก แต่ก็สามารถควบคุมได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้ทุกภาคส่วนกลับมาทำธุรกิจได้ตามปกติ หนึ่งในนั้น ก็คือ ธุรกิจฟุตบอลที่ได้รับความนิยมจากแฟนฟุตบอลอย่างมาก

“อย่างในช่วงระลอกที่สองที่ดานัง ตอนนั้นมีนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อแล้วแพร่กระจาย ตอนนั้นติดเชื้อประมาณวันละ 40-50 คน เขาก็เลือกล็อกเมืองเป็นจุดๆ แล้วก็ใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถควบคุมได้”

“ขณะที่ระลอกล่าสุด มีผู้ติดเชื้อกลับมาจากญี่ปุ่น ที่เมือง “หายเยือง” ทางตอนเหนือของเวียดนาม ก่อนขะขยายวงไปที่ประมาณ 100 คนที่ติดเชื้อ ในช่วงนั้นเขาก็ตัดสินใจที่จะล็อกดาวน์เมืองนั้นแล้วถ้าขยายไปเมืองอื่นๆ ก็ล็อกดาวน์เมืองนั้นเพิ่ม ก็ใช้เวลาไม่นานก็ควบคุมได้ โดยมีคนติดเชื้อรวมกันทั้งประเทศประมาณ 700 คน”


“วินัย” สิ่งสำคัญของการอยู่รอด

“รัฐบาลของเวียดนามยังได้ออกกฎที่เข้มงวดเช่นมาตรการติดตามตัว อย่างเวลาไปในสถานที่สำคัญ ก็จะมีมาตรการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันเหมือนเมืองไทย แต่จะมีเจ้าหน้าที่คุมเข้มให้กรอกข้อมูล ถ้าไม่มีแอปฯ ก็จะต้องกรอกข้อมูลที่ตรงนั้นเลย โดยตัวแอปก็จะตรวจสอบได้ว่าไปที่ไหนมาบ้าง แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่ก็จะจับกุมทันที ถือว่าเข้มงวดมากในเรื่องนี้”

“ตอนนี้ที่เวียดนาม ผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์มาพักใหญ่แล้ว ร้านค้า, การใช้ชีวิต, การท่องเที่ยวทำได้ปกติ แต่รัฐบาลก็ยังกำชับให้สวมหน้ากาก อย่างในช่วงที่ต้องมีล็อกดาวน์เมือง ประชาชนของเมืองนั้นก็จะปิดบ้านอยู่แต่ในบ้านตัวเองไม่ออกไปไหน อย่างตอนนั้นเมืองยาลาย มีคนติดเชื้อแค่คนเดียว แต่ประชาชนก็ปฏิบัติตามมาตรการไม่ออกไปปาร์ตี้นอกบ้านหรือพบปะกันเลย ก็เลยเป็นสิ่งที่ทำให้เขาคุมโรคได้เร็ว

เขาล็อกพื้นที่เร็วมาก แล้วพอหลังครบกำหนด 14 วันหรือ 21 วัน ถ้าพื้นที่นั้นไม่มีคนติดเชื้อ เขาก็เปิดพื้นที่ให้คนมาทำมาค้าขายกันอย่างรวดเร็ว”


หยุดแข่งเพื่อปลอดภัย จากนั้นรันต่อ

โค้ช “ซิโก้” กล่าวว่า ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด ฟุตบอลเวียดนามก็ตัดสินใจหยุดแข่ง ด้วยรูปแบบการแข่งขันและช่วงเวลาที่สามารถเลื่อนแข่งได้เล็กน้อย จนกระทั่ง เมื่อมั่นใจจริงๆ ฟุตบอลเวียดนามจึงกลับมาแข่งขันกันอีกครั้ง

“ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาด ฟุตบอลลีกเวียดนามก็ตัดสินใจหยุดการแข่งขันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พอควบคุมสถานการณ์ได้ก็ยังไม่ได้แข่งขันทันที ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากคุมสถานการณ์ได้ จึงกลับมาแข่งขันอีกครั้ง ซึ่งในช่วงแรก ก็ได้เพิ่มมาตรการบังคับใส่แมสก์เข้าชม อย่างในเมืองใหญ่ๆ ถ้าละเมิดกฎก็จะมีค่าปรับมากหน่อย เช่น ฮานอย, โฮจิมินห์ ถ้าละเมิดก็จะโดนปรับ 3 ล้านดอง ส่วนในเมืองเล็กๆ ก็จะลดระดับลงมา”

ส่วนการเข้าชมการแข่งขัน ตอนกลับมาใหม่ๆ ก็จะจำกัดแฟนบอลก่อน 20 เปอร์เซ็นต์ ก่อนเพิ่มเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อไม่มีผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง ก็เพิ่มเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ที่เข้าสนามได้”




จากสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมด ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฟุตบอลเวียดนาม เดินหน้าในยุคโควิด-19 แพร่ระบาดทั่วโลก นั่นมีที่มาจากนโยบายการควบคุมโรคที่ทำให้สถานการณ์ในประเทศถือว่าดีที่สุดในย่านอาเซียน และตอบคำถามที่ว่า เพราะอะไร ฟุตบอลเวียดนามถึงกล้าให้แฟนฟุตบอลสามารถเข้าสนามได้เต็มความจุ

ไม่แน่ว่า โมเดลของฟุตบอลลีกเวียดนาม จะเป็นโมเดลสำคัญ ที่ชาติอื่นๆ อาจต้องเรียนรู้ ในยุคที่เราเองก็ไม่รู้ว่า โควิด-19 จะหมดไปจากโลกนี้เมื่อไหร่ 

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.