“บาร์เซโลน่า” พ่าย “โซเซียดัด” คาบ้าน 1-2 ฉลองแชมป์ลาลีกา สมัย 27 แอบกร่อย
เผยแพร่: ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ฟุตบอลลาลีกา สเปน คืนวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา พลพรรค “อาซูลกราน่า” บาร์เซโลน่า เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของ รีล โซเซียดัด โดยเจ้าถิ่นการันตีการคว้าแชมป์ลีกไปแล้ว
ปรากฎว่าเกมนี้ทีมเยือน รีล โซเซียดัด ได้ประตูนำถึง 2-0 จาก มิเคล เมริโน นาที 5, อเล็กซานเดอร์ ซอร์ลอธ นาที 72 ก่อนที่เจ้าถิ่นจะมีตีไข่แตกจากโรเบิร์น เลวานดอฟสกี น.90 ไล่มา 1-2 และจบเกมไปด้วยสกอร์นี้
ทั้งนี้ผ่านไป 35 เกม บาร์เซโลน่า มี 85 คะแนน คว้าแชมป์ฤดูกาลนี้ไปครองเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งถือเป็นแชมป์ลีกสูงสุดแดนกระทิงดุสมัยที่ 27 และหลังจบเกมได้มีพิธีมอบโทรฟีแชมป์ โดยจัดงานฉลองกันแบบกร่อยเล็กน้อยเนื่องจากทีมเพิ่งจะแพ้คาบ้าน
ขณะที่ รีล โซเซียดัด เก็บชัยชนะในเกมนี้มีเพิ่มเป็น 65 คะแนน รั้งอันดับ 4 ของตาราง โดยยังเหลือโปรแกรมอีก 3 นัด ขออีก 5 คะแนน ก็จะการันตีท็อปโฟร์ไปเล่นยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.