Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“บาร์ซา” ทีมฟุตบอลมูลค่าสูงสุดในโลก พรีเมียร์ลีกติดท็อปเทน 6

Football Sponsored
Football Sponsored

“บาร์ซา” เบียดแซงทีมคู่ปรับร่วมลีก ยึดตำแหน่งสโมสรฟุตบอลมูลค่าสูงที่สุดในโลก ขณะที่ทีมจากลีกสูงสุดของอังกฤษ ติดโผท็อปเทนเข้ามามากถึง 6 ทีมด้วยกัน

“ฟอร์บส์” นิตยสารด้านการเงินชื่อดังของโลก ได้จัดอันดับสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่าทางการเงินสูงที่สุดประจำปี 2021 ออกมาแล้ว ซึ่งปรากฏว่า บาร์เซโลนา แซง เรอัล มาดริด แชมป์เก่า 2 ปีที่แล้ว ก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 ของโลก โดยมีมูลค่าราว 4.76 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 147,560 ล้านบาท)

ขณะที่ “ปิศาจแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ถึงแม้จะถูก บาเยิร์น มิวนิก แซงขึ้นไปรั้งอันดับ 3 แต่ก็ยังเป็นทีมที่มีมูลค่าสูงสุดในอังกฤษ โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 4.2 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 130,200 ล้านบาท) เหนือกว่า “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทีมดังของพรีเมียร์ลีกที่ติดโผในกลุ่มท็อปเทนของโลก ไม่ว่าจะเป็น แมนเชสเตอร์ ซิตี้, เชลซี, อาร์เซนอล และ ทอตแนม ฮอตสเปอร์

10 ทีมฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก 

1. บาร์เซโลนา มูลค่า 4.76 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 147,560 ล้านบาท)

2. เรอัล มาดริด มูลค่า 4.75 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 147,250 ล้านบาท)

3. บาเยิร์น มิวนิก มูลค่า 4.22 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 130,820 ล้านบาท)

4. แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มูลค่า 4.20 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 130,200 ล้านบาท)

5. ลิเวอร์พูล มูลค่า 4.10 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 127,100 ล้านบาท)

6. แมนเชสเตอร์ ซิตี้ มูลค่า 4 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 124,000 ล้านบาท)

7. เชลซี มูลค่า 3.2 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 99,200 ล้านบาท)

8. อาร์เซนอล มูลค่า 2.58 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 79,980 ล้านบาท)

9. เปแอสเช มูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 77,500 ล้านบาท)

10. ทอตแนม ฮอตสเปอร์ มูลค่า 2.3 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 71,300 ล้านบาท)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.