Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ชบาแก้ว ถล่ม กัมพูชา 6-0 คว้าเหรียญทองแดง ซีเกมส์ ครั้งที่ 32

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.00 น. ณ โอลิมปิก สเตเดียม การแข่งขันฟุตบอลหญิงซีเกมส์ รองชิงเหรียญทองแดง ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ลงสนามพบกับ กัมพูชา

โดยนัดล่าสุดของทั้งสองทีม ในรอบรองชนะเลิศ ทีมชาติไทย พ่าย เมียนมา มา 2-4 ส่วน กัมพูชา พ่าย เวียดนามมา 0-4

เกมนี้ นฤพล แก่นสน จัดเต็มนำทีมโดย มี ทิฟฟานี่ ดารุณี สอนเผ่า เป็นผู้รักษาประตู , เสาวลักษณ์ เพ็งงาม, อรพินท์ แหวนเงิน และ ภัทรนันท์ อุปชัย
เริ่มเกม​ นาทีที่ 16 ภัทรนันท์ อุปชัย เปิดให้ เสาวลักษณ์ เพ็งงามโขกเข้าไปให้ ไทยนำ กัมพูชาก่อน 1-0

นาทีที่ 25 ชบาแก้วได้เฮอีกครั้ง​ จากบอลครอส และเลยไปถึง จิราภรณ์ มงคลดี แปเข้าไปให้ ชบาแก้ว นำห่างเป็น 2-0

นาทีที่ 34 ณัฐวดี ปร่ำนาค ได้บอลหลุดทางด้านซ้ายก่อนเปิดเข้ากลางให้ เสาวลักษณ์ เพ็งงาม วิ่งมาแปง่ายๆ​ บอลตุงตาข่ายให้ ชบาแก้ว นำห่างเป็น 3-0

ช่วงทดเจ็บ​ ชบาแก้ว มาได้จุดโทษ​ แต่ เสาวลักษณ์ เพ็งงาม​ ยิงหลุดกรอบออกไปอย่างน่าเสียดายทำให้จบครึ่งแรก ชบาแก้ว นำ กัมพูชา​ 3-0

ครึ่งหลัง ไทยยังเดินหน้าเปิดเกมรุกอย่างต่อเนื่อง นาทีที่ 51 ปลื้มใจ สนธิสวัสดิ์ เปิดให้ ปณิฏฐา จีรัตนะภวิบูล โหม่งเข้าประตูไปให้ ไทยนำห่างเป็น 4-0

นาทีที่ 54 จากจังหวะเปิดเข้ามาที่หน้าปากประตู แนวรับกัมพูชาโหม่งสกัดบอลลอยมาเข้าทางของ ภัทรนันท์ อุปชัย แปเข้าไปง่ายๆ ให้ชบาแก้ว นำห่าง กัมพูชา ออกไปเป็น 5-0

นาทีที่ 88 ภัทรนันท์ อุปชัย ได้ยิงด้วยขวา บอลพุ่งเสียบเสาไกล ให้ชบาแก้ว นำห่าง 6-0 ช่วงเวลาที่เหลือ ไม่มีสกอร์เพิ่ม จบเกม ไทยเอาชนะ กัมพูชา 6-0 จบอันดับที่ 3 ความเหรียญทองแดงไปครอง

สำหรับ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย จะเดินทางกลับทันทีในวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 โดยจะถึงท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิในเวลา 11.00 น. โดยประมาณ

รายชื่อ 11 ตัวจริง

กาญจนาพร แสนคุณ, สุภาพร อินทรประสิทธิ์, ธัญชนก จั่นศรี, จิราภรณ์ มงคลดี, ชัชวัลย์ รอดทอง, ณัฐวดี ปร่ำนาค, ภัทรนันท์ อุปชัย, เสาวลักษณ์ เพ็งงาม (C), อรพินท์ แหวนเงิน , ทิฟฟานี่ ดารุณี สอนเผ่า (GK), ปณิฎฐา จีรัตนะภวิบูล

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.