เหน็บใครหรือเปล่า?คล็อปป์ลั่นนัดหน้าลิเวอร์พูลได้เตะสนามที่เหมาะสม
เจอร์เก้น คล็อปป์ กุนซือ ลิเวอร์พูล ระบุ ในนัดหน้าทีมของตนกับ เรอัล มาดริด จะได้ดวลกันที่สนามที่เหมาะสมกับคำว่าสนามฟุตบอลอย่าง แอนฟิลด์ จนเหมือนแอบพาดพิง อัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ สนามเหย้าชั่วคราวของ “ราชันชุดขาว” ซึ่ง ซีเนดีน ซีดาน นายใหญ่ มาดริด บอกเพียงว่าพวกตนภูมิใจที่ได้เล่นในสนามแห่งนี้
เจอร์เก้น คล็อปป์ ผู้จัดการทีม ลิเวอร์พูล ยอดสโมสรแห่งเวที พรีเมียร์ลีก อังกฤษ เหมือนจะพาดพิงเรื่องสนามเหย้าชั่วคราวของ เรอัล มาดริด ด้วยการบอกว่าในนัดสองของศึก ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบก่อนรองชนะเลิศ มันจะได้เตะกันที่ แอนฟิลด์ ซึ่งถือเป็นสนามที่เหมาะสมกับคำว่าสนามฟุตบอลจริงๆ
ด้วยความที่ มาดริด กำลังทำการบูรณะ ซานติอาโก้ เบร์นาเบว รังเหย้าของพวกเขาอยู่ ทำให้ตอนนี้ “ราชันชุดขาว” จำเป็นต้องมาเตะเกมเหย้าที่ อัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ไปก่อน และนั่นรวมถึงเกม แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบ 8 ทีมสุดท้าย นัดแรกที่ มาดริด ชนะ ลิเวอร์พูล 3-1 เมื่อวันอังคารที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมาด้วย โดยเดิมทีสนาม อัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ถูกใช้เป็นสนามซ้อมของทีมชุดใหญ่ รวมถึงถือเป็นสังเวียนให้ทีมเยาวชนของ มาดริด ใช้เวลาลงเล่นเกมเหย้า
“เกมที่ แอนฟิลด์ จะเป็นงานยากสำหรับ เรอัล มาดริด ต่อให้จะมีหรือไม่มีแฟนบอลอยู่ในสนามก็ตาม คืนนี้มันเป็นบรรยากาศที่แปลก มันเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากและต่างไปจากปกติเพราะเรื่องของสนาม อย่างน้อย แอนฟิลด์ ก็เป็นสนามที่เหมาะสม และนั่นจะเป็นเรื่องดีสำหรับเรา” คล็อปป์ ระบุ
ทั้งนี้ ซีดาน ถูกถามถึงเรื่องคำให้สัมภาษณ์ของ คล็อปป์ เหมือนกัน ซึ่งตำนานเพลย์เมกเกอร์ชาวฝรั่งเศสตอบว่า “ผมไม่มีความเห็นต่อสิ่งที่ เจอร์เก้น พูด แต่เราภูมิใจมากๆ ที่ได้ลงเล่นที่ เอสตาดิโอ อัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่”
— Anfield Watch (@AnfieldWatch) April 6, 2021
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.