ไทยยังไม่ซื้อสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก สะท้อนอะไรให้เราเห็นบ้าง Summary การแข่งขันฟุตบอล โลก หรือ World Cup 2022 ที่ประเทศกาตาร์ใกล้จะเริ่มขึ้นแล้ว แต่บรรยากาศในประเทศไทยไม่คึกคักเหมือนฤดูกาลการแข่งขันฟุตบอล โลกครั้งก่อนๆ และประเทศไทยไม่มีเอกชนรายไหนซื้อสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอล โลก ฟุตบอล โลกเป็นมหกรรมกีฬา ใหญ่ของโลก ซึ่งไทยมีกฎ ‘Must Have’ ของ กสทช. กำหนดว่า การแข่งขันฟุตบอล โลกเป็นหนึ่งในการแข่งขันกีฬา รายการสำคัญที่ต้องมีการถ่ายทอดสดให้ประชาชนได้ชมฟรี เมื่อไม่มีเอกชนยื่นประมูลลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด จึงตกเป็นหน้าที่ของ กสทช.เองที่จะต้องเป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด การที่ไทยยังไม่มีผู้ซื้อสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอล โลก และบทสนทนาเรื่องนี้ในสังคม สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ดี, กฎของ กสทช. เป็นเหตุที่เอกชนกลัวทำกำไรไม่ได้, กฎของ กสทช. มีส่วนทำให้ค่าลิขสิทธิ์แพง และมีคนกำลังจะทำคะแนนด้วยภาษีประชาชน?
Author
รุ่งนภา พิมมะศรี
กองบรรณาธิการสายเศรษฐกิจ ไทยรัฐพลัส
ฟุตบอล ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.
Accept