Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ลุ้นถึง 60 “คิงคาซู” ทุบสถิติ “นักฟุตบอลอาชีพ” อายุมากสุด เกมดิวิชั่น 4 ญี่ปุ่น

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 11 ตุลาคม 2565 คาซูโยชิ มิอุระ ศูนย์หน้าระดับตำนานของญี่ปุ่น สร้างสถิติใหม่ในการเป็นนักฟุตบอลอาชีพอายุมากที่สุดที่ยังค้าแข้งอยู่ ด้วยวัย 55 ปี 225 วัน หลังจากได้รับโอกาสประเดิมสนามให้กับ ซูซูกะ พอยนต์ เก็ตเตอร์ส ต้นสังกัดในศึกเจเอแอล (ดิวิชั่น 4 ของญี่ปุ่น) เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ย้ายมาจาก โยโกฮามา เอฟซี ด้วยสัญญายืมตัว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

“คิงคาซู” ถูกส่งลงมาเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 76 ของเกมที่ ซูซูกะ พอยนต์ เก็ตเตอร์ส เอาชนะ คริอาเซา ชินจูกุ 1-0 ต่อหน้าแฟนบอล 16,218 คน ที่สนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา

ด้าน คาซูโยชิ มิอุระ เปิดใจหลังสร้างสถิติขึ้นมาใหม่อีกครั้งว่า “ผมรู้สึกขอบคุณที่ได้เล่นในบรรยากาศที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และรู้สึกภาคภูมิใจ ผมต้องการให้เกมนี้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ผมสร้างขึ้น ผมดีใจที่มีโอกาสได้ลงเล่นในสถานที่แบบนี้อีกครั้ง ผมจะอยู่อย่างถ่อมตัวและเดินหน้าต่อไปโดยไม่ลืมความกระหายในการลงสนาม”

ก่อนหน้านี้ “คิงคาซู” เคยสร้างสถิติเป็นนักเตะอายุมากที่สุด ที่ลงเล่นในเจลีก 1 (ลีกสูงสุดของญี่ปุ่น) ด้วยวัย 53 ปี 6 เดือน 28 วัน ในเกมที่ โยโกฮามา เอฟซี บุกไปแพ้ คาวาซากิ ฟรอนตาเล 2-3 เมื่อวันที่ 23 กันยายน ปี 2020 และยังเคยเปรยเอาไว้อีกด้วยว่าอยากค้าแข้งต่อไปจนถึงอายุ 60 ปี.

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.