Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

รัสเซีย กับ ฟุตบอลโลก 2022: สงคราม การเมือง ความขัดแย้ง และ​วิถีของฟุตบอล

Football Sponsored
Football Sponsored

อย่างที่หลายคนทราบกันดี ว่า ทีมชาติรัสเซีย จะไม่มีส่วนร่วมในฟุตบอลโลกปลายปีนี้ เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองที่ตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศยูเครน ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาจะถูกตัดชื่อออกจากการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติทันที และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น…

เมื่อสงครามเริ่มต้น…

อันที่จริงความขัดแย้งระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยชนวนสำคัญมาจากเมื่อปี 2014 ที่ รัสเซีย ได้ทำการผนวกรวมดินแดนไครเมีย หลังชาวเมืองลงประชามติว่าต้องการจะอยู่ฝ่ายเดียวกับ รัสเซีย จากเหตุการณ์ความคัดแย้งภายในยูเครน ณ เวลานั้น นอกจากนี้ รัสเซีย ยังต้องการจะควบรวม โดเนตสก์ และ ลูกานสก์ ในภูมิภาคดอมบาส ที่อยู่ฝั่งตะวันออกของ ยูเครน ติดกับพรมแดน รัสเซีย โดยอ้างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่พยายามออกมาเคลื่อนไหวเพื่อประกาศอิสรภาพจาก ยูเครน ทำให้เกิดความตึงเครียดทางชาติพันธุ์และมีการปะทะกันนับจากนั้นเป็นต้นมา แม้ว่าจะมีสนธิสัญญาหยุดยิงระหว่างสองชาติแล้วก็ตาม

กระทั้งวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศต่างส่งกำลังทหารเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าว ก่อนที่หนึ่งวันต่อมาประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน สั่งให้มีการเริ่มใช้กำลังทหารนอกดินแดนของ รัสเซีย และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปูติน ประกาศสงครามกับ ยูเครน อย่างเป็นทางการ มีการยิงขีปนาวุธโจมตีเมืองต่าง ๆ และส่งทหารรุกล้ำเข้ามายังเขตแดนประเทศ ยูเครน ซึ่งการต่อสู้ยังคงยาวนานกินเวลามาจนถึงปัจจุบัน

Russia-Ukraine war / Anadolu Agency/GettyImages

ผลกระทบด้าน ฟุตบอล

หลังจากการรุกรานเกิดขึ้น หลายองค์กรจากหลายประเทศต่างประนามการกระทำของ รัสเซีย อย่างหนัก เช่นเดียวกับวงการฟุตบอล ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ ฟีฟ่า ประกาศคว่ำบาตร รัสเซีย ด้วยการยกเลิกและสั่งห้ามไม่ให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติใน รัสเซีย ย้ายการแข่งขันที่จำเป็นต้องลงแข่งใน รัสเซีย ให้มาเล่นในสนามกลาง รวมถึงห้ามใช้ชื่อประเทศ สัญลักษณ์ ธงชาติภายใต้สมาคมกีฬาใด ๆ จากประเทศรัสเซียทันที โดยจะมีมาตรการที่หนักขึ้นหากการรุกรานยังดำเนินต่อไป

“ขอย้ำอีกครั้งว่าเราประณามการใช้กำลังของ รัสเซีย ในการรุกราน ยูเครน ความรุนแรงไม่เคยแก้ปัญหาใด ๆ และเราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้น เราขอเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสันติภาพอย่างเร่งด่วน รวมถึงต้องการให้มีการเจรจาในเชิงสร้างสรรค์” ฟีฟ่า แสดงจุดยืนต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

เวลาต่อมา วลาดิเมียร์ ปูติน ยังไม่มีทีท่าว่าจะถอนกำลัง ทำให้ ฟีฟ่า ได้หารือกับ 6 สมาพันธ์ฟุตบอล รวมถึงคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ในการกีดกัน รัสเซีย ออกจากการแข่งขันระดับนานาชาติทุกประเภทในปี 2022 และ 2023 นั่นทำให้ รัสเซีย ถูกตัดสิทธิจากการเพลย์ออฟเข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2022 ทันที ส่งผลให้ โปแลนด์ คู่แข่งในการเพลย์ออฟจะได้สิทธิเข้าร่วมไปโดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังรวมถึง ฟุตบอล ยูโร 2024 ที่พวกเขาก็จะหมดสิทธิร่วมเล่นในรอบคัดเลือกและนั่นหมายถึงจะพลาดการไปเล่นในรอบสุดท้ายโดยปริยาย

72nd FIFA Congress / Markus Gilliar – GES Sportfoto/GettyImages

ไม่เพียงแค่ในระดับชาติเท่านั้น เพราะทั้ง ยูฟ่า รวมถึง IOC ก็ตกลงจะตัดสิทธิการเข้าร่วมการแข่งขันในทุกรายการทั้ง สโมสรจากรัสเซีย นักกีฬาจากรัสเซีย ตัวแทนระดับทีมชาติหรือระดับสโมสร โดยทั้งหมดจะถูกระงับสิทธิทันทีจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม รัสเซีย ไม่เห็นด้วยกับการถูกสั่งแบนดังที่กล่าว จึงส่งคำอุทธรณ์โทษไปยัง ศาลกีฬาโลก (CAS) ก่อนที่ขั้นต้นจะมีการพิจารณาและปัดคำร้องดังกล่าวตกไป แต่กระบวนการขออุทธรณ์ยังคงมีการหารือ ศึกษาข้อมูลเพิ่ม กระทั่งเวลาต่อมา รัสเซีย ตัดสินใจถอนคำร้อง ทำให้การคว่ำบาตรยังคงดำเนินต่อไปตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งตามแผนคือมีการกีดกันเป็นเวลา 2 ปีในปี 2022 และ 2023 แต่หากความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป องค์กรต่าง ๆ ก็จะต้องมาหารือร่วมกันอีกครั้งและอาจมีการขยายขอบเขตการคว่ำบาตรออกไปอีกตามความเหมาะสม

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันเรายังไม่สามารถแยกกีฬาออกจาก การเมือง เศรษฐกิจ ชาติพันธ์ หรือแม้แต่สงครามได้ ทำให้เมื่อมีประเด็นระหว่างประเทศเกิดขึ้น “กีฬา” ก็มันจะได้รับผลกระทบด้วยเสมอ ๆ ซึ่งหากมองอีกมุม แม้ผู้นำประเทศจะทำในสิ่งเลวร้าย แต่นักกีฬาที่ไม่ได้ทำความผิดอะไร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสงคราม หรือบางคนอาจจะต่อต้านการกระทำของชาติตัวเองด้วยซ้ำ ต้องมาถูกร่างแหไปด้วยชนิดที่ตัวเองไม่มีสิทธิเลือก ไม่มีสิทธิตัดสินใจใด ๆ ทำได้เพียงต้องน้อมรับผลที่จะเกิดขึ้น มันก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกัน…

สนับสนุนบทความของแท้ไม่ก็อปปี้ต้อง 90min.com เท่านั้น! *ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความหรือรูปภาพไม่ว่าวิธีใดๆ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามกฏหมายที่ระบุไว้สูงสุด

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.