Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เตรียมระเบิดศึกฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์อาเซียน 2022 ฟุตบอลชายหาดไทยตั้งเป้าป้องกันแชมป์

Football Sponsored
Football Sponsored

เตรียมระเบิดศึกฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์อาเซียน ที่ประเทศไทย เศรษฐกรชัย ชื่นตา หัวหน้าผู้ฝึกสอน ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทย ตั้งเป้าที่จะป้องกันแชมป์ให้ได้

สำหรับหารกแข่งขัน “เอเอฟเอฟ บีช ซอคเกอร์ แชมเปี้ยนชิพ 2022” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาคม นี้ ณ สนามชายหาดพัทยากลาง จ.ชลบุรี  โดยมี 4 ชาติเข้าร่วมชิงชัย ได้แก่ ทีมชาติไทย (เจ้าภาพ), มาเลเซีย,  อินโดนีเซีย และ ติมอร์-เลสเต

โดย ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทย ภายใต้การนำของ พลโท อิสระ วัชระประทีป ที่ปรึกษาผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้จัดการทีม และ “โค้ชเอก” เศรษฐกรชัย ชื่นตา หัวหน้าผู้ฝึกสอน มีโปรแกรมทำศึกชิงแชมป์อาเซียน “เอเอฟเอฟ บีช ซอคเกอร์ แชมเปี้ยนชิพ 2022“

“โค้ชเอก” เศรษฐกรชัย ชื่นตา หัวหน้าผู้ฝึกสอน กล่าวว่า ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทยได้ทำการฝึกซ้อมต่อเนื่องที่ กกท. หัวหมาก และในวันที่ 19-20 กันยายนนี้ จะมีเกมอุ่นเครื่อง 2 นัด กับสโมสร เกีย เวียต เอฟซี จากเวียดนาม ที่สนามทราย ข้างอินดอร์สเตเดียม เวลา 16.30 น.ทั้งสองวัน เพื่อเช็คดูความพร้อมก่อนตัดตัวนักเตะ โดยเป้าหมายรายการชิงแชมป์เอเชีย แน่นอนว่าเราต้องการป้องกันแชมป์เอาไว้ให้ได้อีกครั้ง

สำหรับรายการนี้จัดแข่งขันมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งแรกที่มาเลเซีย ปี 2014 รอบชิงฯ เจ้าภาพ เอาชนะ เวียดนาม 6-4, ครั้งสอง ที่อินโดนีเซีย ปี 2018 รอบชิงฯ เวียดนาม ชนะ ทีมชาติไทย 6-4 และครั้งล่าสุด ที่ จ.ชลบุรี เมื่อปี 2019 ทีมชาติไทย คว้าแชมป์ด้วยการเอาชนะ เวียดนาม 4-2

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.