Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เจอกันที่อินเดีย! เอเอฟซี คลอดสนามบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย

Football Sponsored
Football Sponsored

ศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2022 ที่อินเดีย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน 20 ม.ค.-6 ก.พ.65  ซึ่งจะมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรอบสุดท้ายจำนวน 12 ทีม  เพื่อคัดทีมตัวแทนทวีปเอเชียไปแข่งขันชิงแชมป์โลก 2023 ที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ทวีปเอเชียได้โควตา 5+1+2 ( 5 ทีมไปเล่นฟุตบอลโลกอัตโนมัติ+1 ทีม ออสเตรเลียเจ้าภาพ+2 ทีม เพลย์ออฟกับทวีปอื่นๆอีก 5 โซน ในรูปแบบทัวร์นาเมนต์) จะได้เป็นตัวแทนไปชิงแชมป์โลก

    ในส่วนของทวีปเอเชียจะมีการแข่งขันรอบคัดเลือกก่อนที่จะทำการแข่งขันรอบสุดท้ายที่อินเดีย โดยในรอบสุดท้าย 12 ทีม ตามระเบียบการแข่งขันได้ 4 ทีมที่ ไปรอเล่นในรอบสุดท้ายแล้วประกอบไปด้วย อินเดีย เจ้าภาพ, ญี่ปุ่น แชมป์ ปี 2018 ออสเตรเลีย รองแชมป์ปี 2018 และ จีน อันดับ 3 ปี 2018   ส่วนอีก 8 ทีมจะมาจากรอบคัดเลือกซึ่งมี 34 ทีมลงทำการแข่งขัน

    ล่าสุดสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย(เอเอฟซี) ได้ยืนยันเรื่องของสนามที่จะใช้ทำการแข่งขันออกมาแล้วในรอบสุดท้ายที่อินเดียเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จะมี 3 สนามที่ใช้ทำการแข่งขันจากทั้งหมด 3 เมือง โดยแต่ละสังเวียนที่อินเดียใช้ทำการแข่งขันล้วนแล้วแต่ผ่านการจัดการแข่งขันรายการใหญ่ๆมาแล้วทั้งสิ้น  3 สนามที่ใช้ทำการแข่งขันประกอบไปด้วย

    DY พาทิล สเตเดี้ยม / เมืองมุมไบ ความจุ 55,000 ที่นั่ง

    EKA สเตเดี้ยม / เมืองอาเมนาบาด ความจุ 20,000 ที่นั่ง

    คาลิกา สเตเดี้ยม / เมืองบูบาเนสวา ความจุ 15,000 ที่นั่ง

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.