โควตาเอเชีย ญี่ปุ่น,เกาหลีฯ ยังฮิตไทยลีก 25 – สยามกีฬา
ศึกฟุตบอลไทยลีก 1 ฤดูกาล 2021-22 หรือการแข่งขันไทยลีก ครั้งที่ 25 จะเปิดฉากทำการฟาดแข้งกันในวันที่ 3 ก.ย.64 มี 16 ทีมลงทำการแข่งขัน โดยเมื่อวันที่ 27 ส.ค.64 ที่ผ่านมา ตลาดซื้อ-ขาย ไทยลีก ได้ลง ซึ่งแต่ละทีมต่างเสริมทัพตามความเหมาะสมตามกำลังเงินและแท็คติกที่ต้องการ ของกุนซือทีมต่างๆ โควตาเอเชีย ถือว่าเป็นโควตาที่ยิ่งยงมั่นคงเพราะด้วยการแข่งขันเวทีระดับชิงแชมป์สโมสรเอเชียโควตานี้จะสำคัญต่อทีมต่างๆในทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว
เช่นเดียวกันกับไทยลีก 1 โควตาเอเชียหลายทีมเลือกที่จะเสริมเข้ามาสู่ทีมแบบเน้นๆ โดยระเบียบการขึ้นทะเบียนรายชื่อนักเตะไทยลีกฤดูกาล 2021-22 ยังคงยึดระเบียบเดิมเหมือนฤดูกาลที่ผ่านมา 3(นานาชาติ)+1(เอเชีย)+อาเซียนไม่จำกัด ฤดูกาลนี้ก่อนฟาดแข้ง ลีกสูงสุดไทยเสริมทัพโควตาเอเชียมาถึง 16 ราย ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้ ชาติละ 4 ราย,ออสเตรเลีย 3 ราย,อิหร่าน 2 ราย และ อิรัก,อุซเบกิสถาน,ปาเลสไตน์ ชาติละ 1 ราย
นักเตะโควตาเอเชียไทยลีก 2021-22
ยาง จุน อา 32 ปี เกาหลีใต้ กองกลาง โปลิศ เทโรฯ
มาฮาน ราฮานี่ 25ปี อิหร่าน กองกลาง หนองบัว พิชญ เอฟซี
อัปเปียห์ คาวาเบ 29ปี ออสเตรเลีย กองหน้า นครราชสีมา เอฟซี
เรบิน ซูลากา 29ปี อิรัก-สวีเดน กองหลัง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
เซกิโอ เอสคูเดโร 32ปี ญี่ปุ่น-สเปน กองกลาง เชียงใหม่ ยูไนเต็ด
ไดสุเกะ ซาไก 24ปี ญี่ปุ่น กองกลาง สมุทรปราการ ซิตี้
ยูโตะ โอโนะ 29ปี ญี่ปุ่น กองกลาง สมุทรปราการ ซิตี้
เจสซี่ เคอร์เรน 25ปี ออสเตรเลีย-ฟิลิปปินส์ กองหลัง เมืองทอง ยูไนเต็ด
ซาดอร์ มีซาเยฟ 30ปี อุซเบกิสถาน กองกลาง เมืองทอง ยูไนเต็ด
ยู เบียง ซู 33ปี เกาหลีใต้ กองหน้า ชลบุรี เอฟซี
เรียว มัตสึมูระ 27ปี ญี่ปุ่น กองหน้า บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
ฮาเหม็ด ลาติฟ 33ปี อิหร่าน กองหลัง สุพรรณบุรี เอฟซี
แอนโทนี่ คาร์เตอร์ 27ปี ออสเตรเลีย กองหน้า แบงค็อก ยูไนเต็ด
โช จี ฮุน 31ปี เกาหลีใต้ กองกลาง เชียงราย ยูไนเต็ด
โก ซุล กี 35ปี เกาหลีใต้ กองกลาง ท่าเรือ
ยาสเซอร์ อีสลามี 30ปี ปาเลสไตน์-ชิลี กองหน้า ขอนแก่น ยูไนเต็ด
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.