Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เริ่มแล้ว “ชนคน” มหา’ลัย กีฬา “รากเหง้า” สหรัฐฯ – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

นี่คือกีฬาแห่งตำนาน แห่งประวัติศาสตร์ และเป็นหนึ่งในกีฬา “รากเหง้า” ที่ประเทศมหาอำนาจทั้งในด้านการเมือง การทหารและการเศรษฐกิจหมายเลข 1 ของโลกที่เรียกกันว่า U.S.A. หรือสหรัฐอเมริกา คิดค้นขึ้นมาเอง และยังคงรักษามันไว้ด้วยความภาคภูมิใจ

แม้ว่ากีฬา อเมริกันฟุตบอลอาชีพ จะเป็นกีฬาที่มีคนดูมากที่สุดในสหรัฐฯ ทั้งดูจริงในสนามและดูการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์…โดยเฉพาะศึก “ซุปเปอร์โบวล์” นัดชิงแชมป์ส่งท้าย

แต่รากฐานของกีฬาท็อปฮิตที่ว่านี้และเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่พวกเขาถ่ายทอดกันมาจากรุ่นต่อรุ่น จนมาถึงบัดนี้กว่า 150 ปี คือประมาณ 152 ปีแล้ว กลับอยู่ที่การแข่งขันใน ระดับมหาวิทยาลัย ที่เรียกว่า College Football นั่นเอง

ในจารึกที่เกี่ยวกับความเป็นมาของอเมริกันฟุตบอลระบุว่าเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี 1869 หรือเมื่อ 152 ปีดังกล่าว มหาวิทยาลัยดัง 2 แห่งของสหรัฐฯ ได้แก่ นิวเจอร์ซีย์ คอลเลจ ซึ่งต่อมากลายเป็น มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton) กับ มหาวิทยาลัยรัทเกอร์ (Rutgers) ได้จัดทีมฟุตบอลมาแข่งขันกัน โดยเริ่มจากลูกฟุตบอลกลมๆ แบบซอคเกอร์ที่อังกฤษเป็นต้นตำรับนี่แหละครับ

แต่ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยใช้ผู้เล่นถึงข้างละ 25 คน เพื่อช่วยกันเตะฟุตบอลไปเข้าประตูคู่ต่อสู้ และคิดค้นกติกาอะไรบางอย่างที่แตกต่างไปจากการเล่นที่อังกฤษเมืองแม่ของตน

ในปีต่อๆมาก็นัดมาเตะกันอีกโดยเปลี่ยนมาใช้ลูกแบบรักบี้บ้าง แต่จำนวนคนก็ยังข้างละ 25 เหมือนเดิม ไม่เหมือนต้นตำรับไม่ว่าจะเป็นซอคเกอร์หรือรักบี้ก็ตาม

จากนั้นไม่นานก็มีการขยายวงไปอีกหลายมหาวิทยาลัยและก็ค่อยค้นคิดกติกาเพิ่มไปเรื่อยๆ จากเกม ซึ่งทันมาใช้ลูกรักบี้เป็นหลัก ในช่วงหลังๆ จนกระทั่งปี 1879 ผ่านมา 10 ปี พอดิบพอดี ผู้เล่น และกัปตันของทีม มหาวิทยาลัยเยล คนหนึ่ง

ที่ชื่อ วอลเตอร์ แคมป์ ก็เข้ามามีบทบาทในการกำหนดกติกาโน่นนี่ที่เป็นต้นตอของอเมริกันฟุตบอลในปัจจุบัน

วอลเตอร์ แคมป์ แห่งมหาวิทยาลัยเยลจึงได้รับการยกย่องและขนานนามว่า “บิดาแห่งอเมริกันฟุตบอล มานับแต่นั้น

ในขณะที่การเล่นก็แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางกลายเป็นกีฬายอดนิยมของคนเรียนมหาวิทยาลัยและมีหลักฐานว่า ประมาณปี 1900 ต้นๆนั้น มีมหาวิทยาลัยต่างๆตั้งทีม และจัดการแข่งขันกีฬาอเมริกันฟุตบอลที่ว่านี้ ถึงกว่า 60 ทีมทั่วประเทศ

โดยเรียกว่า “ฟุตบอล” หรือ Football นี่แหละไม่มีคำว่า “อเมริกัน” อยู่ข้างหน้าหรอก…เพิ่งจะมาหลังๆ เมื่อกีฬาประเภทนี้เริ่มฮิตไปทั่วโลก…สำนักข่าวต่างประเทศจึงต้องกำหนดชื่อเรียกว่า American Football เพื่อให้ต่างกับคำว่า Football ที่ทั่วโลกรู้จักและฮิตจนถึงขั้นมีการแข่งขันในระดับโลกอันได้แก่ “ฟุตบอลโลก” ดังที่เราทราบกันอยู่แล้ว

ความนิยมของอเมริกันฟุตบอลประเภทมหาวิทยาลัยยังคงพุ่งพรวดต่อมาอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะในช่วงปี 1900 ต้นๆ ที่เริ่มมีการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยมีการจับกลุ่มแข่งขันกันอย่างแพร่หลายดังกล่าว

มีการจับกลุ่ม กลุ่มละ 8 ทีมบ้าง 10 ทีมบ้าง 12 ทีมบ้าง แข่งกันอยู่ในกลุ่มเพื่อจะหาแชมป์กลุ่ม และในแต่ละสัปดาห์ เมื่อการแข่งขันผ่านไปแล้ว เขาก็จะมีการประกาศอันดับ ตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 25 โดยให้สำนักข่าว เอพี และ ยูพีไอ เป็นผู้จัดอันดับ

แรกๆมีกลุ่มดังๆเพียงไม่กี่กลุ่มแต่ปัจจุบันมีถึง 11 กลุ่ม หรือ 11 Conferences ทั่วประเทศ เฉพาะในดิวิชัน 1 หรือดิวิชันสูงสุดมีทีมเข้าร่วมถึง 130 มหาวิทยาลัย

ต่อมาเริ่มมีการแข่งขันหลังฤดูกาล โดยจะเชิญทีมแชมป์กลุ่ม หรือทีมอันดับดีของแต่ละกลุ่มไปเจอกันในการแข่งขันที่เรียกว่า “โบวล์” ต่างๆ แรกๆก็มีแค่โบวล์เดียว คือ “โรส โบวล์” ที่โด่งดังมาก เริ่มแข่งครั้งแรกปี 1923

พอถึงปี 1950 มีการเพิ่มโบวล์อื่นๆขึ้นอีกเป็น 5 โบวล์ และปัจจุบันมีถึง 35 โบวล์เข้าไปแล้ว จำชื่อได้ไม่ถึงครึ่ง

ล่าสุด เขายังเพิ่มการ “เพลย์ออฟ” หลังฤดูกาลขึ้นมาอีก โดยจับทีมอันดับ 1-4 มาเจอกัน แบบน็อกเอาต์ เพื่อหา 2 ทีมสุดท้ายไปชิงแชมป์ประเทศ ที่เรียกว่า “โบวล์แชมเปียนชิป”

ทุกวันนี้คนอเมริกันยังคงติดตามดูการแข่งขัน ประเภทมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และนิสิต นักศึกษาก็ถือเป็นกิจกรรมในระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยว่าเขาจะต้องไปดูไปเชียร์ทีมของเขา รวมทั้งจะมีการนัดหมาย “คู่เดต” ไปดูฟุตบอลกันด้วย

ใครไม่ดูไม่เชียร์ และไม่พูดถึงทีมอเมริกันฟุตบอลของมหา’ลัยตัวเองจะกลายเป็นคนตกรุ่น และพูดกับคนอื่นๆไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว

ทำให้การแข่งขันประเภทมหา’ลัยยังได้รับความนิยมมาจนถึงบัดนี้ และผู้เล่นดังๆก็จะได้รับการคัดเลือกลงมาเล่นในลีกอาชีพหรือ NFL ต่อในภายหลัง…โดยเฉพาะดาราดังๆค่าตัวแพงสุดๆ ขณะนี้ล้วนมาจากมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น

การแข่งขันฤดูกาลนี้จะเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนจบฤดูกาลประมาณต้นๆเดือนธันวาคม จากนั้นก็จะรอว่าทีมใดจะได้รับเชิญไปแข่งใน “โบวล์” ต่างๆ ซึ่งมีถึง 35 โบวล์ ดังได้กล่าวไว้แล้ว

ส่วนนัดสุดท้ายซึ่งเป็นนัดชิงแชมป์ หรือ “เนชันแนลแชมเปียนชิป”…ปีนี้กำหนดไว้วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565

5 ทีมเต็งที่คาดว่าจะได้แชมป์ปีนี้ก็คือ มหาวิทยาลัยอลาบามา (เจ้าเก่า) มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา (นี่ก็ค่อนข้างเก่า) มหาวิทยาลัยเคลมสัน, มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต และ มหาวิทยาลัยจอร์เจีย

บ้านเราคงไม่มีการถ่ายทอดสด แต่ยุคนี้ เป็นยุคสื่อสารทันสมัย สามารถติดตามได้จาก “ช่องทางธรรมชาติ” (แปลว่าช่องทางเถื่อน ประเภทลักลอบดูฟรีนั่นแหละ) ท่านที่สนใจก็ลองค้นหาวิธีเอาเองก็แล้วกัน.

“ซูม”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.