Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

อุบัติเหตุทำให้พิการ แต่แข้งหูหนวกรายนี้ไม่ยอมแพ้ชีวิต ติดธงชิงแชมป์โลก 11 ครั้ง – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

ความฝันของแต่ละคนแตกต่างกันเพียงแต่ว่าฝันนั้นจะเป็นจริงหรือถึงเป้าหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นตั้งใจของแต่ละคนว่าจะจริงจังกับมันแค่ไหน? “ต่อ”ปฏิพล สิงห์แก้ว นักฟุตซอลสโมสร YFA WARRIX ศรีราชาฟุตซอล คลับ ทีมลีกระดับดิวิชั่น 1 ของประเทศไทย คือหนึ่งนักเตะที่ต่อสู้ชีวิตจนพาตัวเองมาไกลถึงฝั่งฝันตามที่ใจปรารถนา บนความต่อสู้เต็มไปด้วยเรื่องราวพิเศษมากมายเพราะแข้งรายนี้พิการทางการได้ยินหลังประสบอุบัติเหตุตั้งแต่อายุ 6 เดือน จนทำให้สูญเสียการได้ยินตั้งแต่เด็ก

    แต่ฟุตบอลทำให้ชีวิตของแข้งรายนี้เปลี่ยนไป เพราะเขามุ่งมั่นตั้งใจกับมันอย่างจริงจังจนพาตัวเองไปติดทีมชาติไทยและลงเล่นรายการชิงแชมป์โลกถึง 11 สมัย (ฟุตบอล+ฟุตซอล) อีกทั้งยังเคยพาทีมชาติไทยคว้ารองแชมป์ฟุตซอลโลก นอกจากนั้นในชีวิตจริงเขาได้รับการยอมรับในเรื่องของฝีเท้าจากคนปกติทั่วไปจนได้รับโอกาสลงเล่นในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง ให้กับเทศบาลเมืองหัวหิน ที่สำคัญลงเล่นฟุตซอลลีกไทยกับคนปกติให้กับสโมสรบางกอกกล๊าส ,ลีโอ บางซื่อ และ YFA WARRIX ศรีราชาฟุตซอล คลับ นี่คือเรื่องราวบางส่วนของแข้งสู้ฝันรายนี้ที่พาตัวเองไปจนถึงเป้าหมายก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆจนทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จ

    “ต่อ” ปฏิพล สิงห์แก้ว เล่าว่า ตอนผมเกิดที่โรงพยาบาลหัวหิน คุณแม่เล่าให้ฟังว่าแรกคลอดการได้ยินของผม ปกติดีและอวัยวะทุกอย่างสมบูรณ์แข็งแรง แต่เนื่องจากการประสบอุบัติเหตุ จึงทำให้สูญเสียการได้ยินตอนอายุประมาณ 6 เดือน ช่วงวัยเด็ก เริ่มรู้จักฟุตบอลและเริ่มเล่นตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ในช่วงที่เรียนอยู่ที่ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดตากโดยที่คุณครูที่โรงเรียนชักชวนให้ มาลองเล่นดู ผมมีความสุขกับมันมากนะครับเพราะมันทำให้ผมเริ่มมีความหวังในการใช้ชีวิตมากขึ้นนอกจากความสนุกแล้วมันทำให้ผมวางเป้ามาย ช่วงตอนที่เริ่มเล่นมีความใฝ่ฝันสูงสุดในใจเลยว่าอยากเป็นตัวแทนทีม ชาติไทยสักครั้ง

    สุดท้ายผมติดทีมชาติไทยของคนพิการทางการได้ยิน สำหรับผมทีมชาติไทยมันเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจที่ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสรับใช้แผ่นดินภาพจำรายการแรกที่ลงรับใช้ทีมชาติผมยังจำได้ไม่มีวันลืม ฟุตบอลพิการทางการได้ยินชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 1 ซึ่งประเทศไทยเป็น เจ้าภาพ จากนั้นมาผมก็รับใช้ทีมชาติไทยมาอย่างต่อเนื่องทั้งฟุตบอลและฟุตซอลไปไกลถึงระดับชิงแชมป์โลก ฟุตบอลทั้งหมด 6 ครั้ง และ ฟุตซอล  5 ครั้ง ตอนนี้ผมมีความฝันอีกอย่างคือผมอยากเป็นผู้ฝึกสอนเพื่อจะนำความรู้ไปประสบการณ์ไปสอนและสนับสนุนให้น้องๆคนหูหนวกรุ่นใหม่ๆหันมาเล่นฟุตบอล และฟุตซอลกันมากขึ้นและพัฒนาวงการกีฬาฟุตบอลและฟุตซอลคนหูหนวกไปให้ไกลถึงระดับโลกเหมือนที่ผมและเพื่อนๆก้าวไปสัมผัส สิ่งต่างๆเหล่านี้มันคือความภูมิใจของพวกเราทีได้รับใช้ชาติรวมไปถึงสังคม 

    ติดตามเรื่องราวของ “ต่อ” ปฏิพล สิงห์แก้ว แบบเต็มรูปแบบในซีรีย์ชีวิตนักสู้บนหนังสือฟุตบอลสยามรายเดือน เล่มที่ 1681 ตามหน้าร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป รวมไปถึงช่องทางที่สะดวกรวดเร็วส่งตรงถึงบ้านแบบไม่ต้องเสียเวลาผ่านช่องทาง https://www.aladinonline.co.th และไลน์แอด @Aladinonline @Siamsportshop 

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.