ดิดิเยร์ ดร็อกบา ฉุนขาดทิ้งเก้าอี้รองประธานสมาคมนักฟุตบอลไอวอรีโคสต์ – ข่าวสด
ดิดิเยร์ ดร็อกบา ลาออกจากตำแหน่งรองประธานสมาคมนักฟุตบอลไอวอรีโคสต์ จวกองค์กรมีปัญหาในการทำงาน และเมินเฉยต่อหน้าที่ดูแลสิทธิประโยชน์เหล่าพ่อค้าแข้ง
เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด
ดิดิเยร์ ดร็อกบา อดีตกองหน้าคนดัง ประกาศลาออกจากตำแหน่งรองประธานสมาคมนักฟุตบอลไอวอรีโคสต์ (เอเอฟไอ) ด้วยความรู้สึกฉุนเฉียว โดยให้เหตุผลว่าองค์กรมีปัญหาในการทำงาน และเมินเฉยต่อหน้าที่ดูแลสิทธิประโยชน์เหล่าพ่อค้าแข้ง
- โรมา บรรลุคว้า แทมมี อับราฮัม หัวหอกเชลซีช่วยยกระดับแนวรุก
- บาร์เซโลนา งานเข้าอีก – อเกโร เดี้ยง ส่อพัก 10 สัปดาห์
- สวิตเซอร์แลนด์แต่งตั้ง มูรัต ยาคิน นั่งกุนซือคนใหม่ สัญญาถึงฟุตบอลโลก 2022
สำหรับดร็อกบามีประเด็นขัดแย้งกับเอเอฟไอตั้งแต่ปีที่แล้ว เมื่อทางองค์กรไม่สนับสนุนให้อดีตหัวหอกรายนี้เสนอตัวชิงตำแหน่งประธานสหพันธ์ฟุตบอลไอวอรีโคสต์ (เอฟไอเอฟ) ซึ่งทางสหพันธ์นักฟุตบอลอาชีพนานาชาติ (ฟิฟโปร) เห็นคล้อยกับดร็อกบาในกรณีนี้
ล่าสุดดร็อกบาเผยถึงเรื่องลาออกจากตำแหน่งว่า “ผมขอประกาศว่าตัวเองได้ลาออกจากตำแหน่งรองประธานเอเอฟไอ ผมเข้าใจในการประสานงานที่ย่ำแย่เห็นได้ชัด องค์กรที่ควรปกป้องสิทธิประโยชน์ของนักเตะ กลับนิ่งเฉยในสถานการณ์ที่ทุกคนลำบากเช่นนี้”
ดร็อกบาวัย 43 ปี เคยเล่นให้ทีมชาติไอวอรีโคสต์ในช่วงปี 2002-2014 ติดธงไป 105 นัด ยิงได้ 65 ประตู โดยสร้างชื่อเสียงอย่างมากสมัยค้าแข้งกับเชลซี แห่งพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ในช่วงปี 2004-2012 และ 2014-2015
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.