ฟุตบอลซูซูกิ คัพ ปรับระบบแข่งหาเจ้าภาพร่วมใช้สนามกลางดวลแข้ง – มติชน
ฟุตบอลซูซูกิ คัพ ปรับระบบแข่งหาเจ้าภาพร่วมใช้สนามกลางดวลแข้ง
การแข่งขันฟุตบอลเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020 เตรียมเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันจากระบบเหย้า-เยือน มาเป็นการหาเจ้าภาพร่วมและใช้สนามกลางฟาดแข้ง
เดิมที ศึกฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน 2020 มีกำหนดการฟาดแข้งตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม ปีที่แล้ว ทว่าต้องถูกเลื่อนการแข่งขันออกไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วภูมิภาคอาเซียน
อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าศึกฟุตบอลเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020 จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันจากปกติรอบน็อคเอาท์ใช้การเตะแบบเหย้า-เยือน เปลี่ยนมาเป็นใช้สนามกลางแข่งขันแทน โดยจะมีการเลือก 2 ประเทศเจ้าภาพ แบ่งแข่งขันกันในรอบแรกเช่นเคย ขณะที่รอบน็อคเอาท์จะแข่งแบบนัดเดียวรู้ผลไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ
สำหรับศึกเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020 มีกำหนดการกลับมาฟาดแข้งกันใหม่ในระหว่างวันที่ 5-31 ธันวาคม 2021 โดยจะมีการจับสลากแบ่งกลุ่มในวันที่ 10 สิงหาคมนี้
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.