Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ทำไมอังกฤษแพ้จุดโทษ – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

จากผลการแข่งขันดังกล่าวมีความเห็นหลังเกมออกมาในหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องของแท็กติกการเล่น การเปลี่ยนตัวผู้เล่น หรือแม้กระทั่งการวางแผนการยิงจุดโทษ

วันก่อนผมอ่านบทความหนึ่งที่ทางเพจ Avarin Running and Triathlon. ได้แชร์เอาไว้เป็นเรื่องเกี่ยวกับมุมของ “จิตวิทยา” ของ Health Performance Team น่าสนใจเป็นอย่างมาก ลองไปอ่านกันครับ Sports psychology กับการยิงลูกโทษ

เราทราบไปแล้วว่า Football is coming Rome ไปเรียบร้อย อังกฤษยิงนำไปก่อน แต่ถูกตีเสมอ 1-1 จบด้วยการยิงลูกโทษ Donnarumma (จิอัน–ลุยจิ ดอนนารุมมา) save 2 ลูก พาอิตาลีคว้าแชมป์

การยิงลูกโทษในระดับนี้ Mind หรือ psychology มีส่วน 50% ได้เลย 25% ต่อมาจาก เทคนิคการยิง และอีก 25% มาจากโชค

จิตวิทยาทางกีฬาจึงมีผลมาก และสำคัญในการดวลชี้เป็นชี้ตาย ชี้แชมป์ความแตกต่างที่เราเห็นได้ จังหวะเตรียมยิงจุดโทษ

ผู้เล่นอิตาลีสุมหัว รวมกับผู้จัดการทีม ปลุกพลัง ปลุกความมั่นใจ รวมกันเป็นหนึ่ง

มีการเสริมความมั่นใจรายบุคคล กับผู้รักษาประตูอิตาลี Donnarumma เรียกว่าเพิ่มพลังความมั่นใจให้กับผู้รักษาประตูในการป้องกัน

ส่วนทีมอังกฤษ ผู้จัดการทีมใช้เวลาส่วนใหญ่ กับการสั่ง เลือก ชี้นักเตะ ใครคือ 1-5 แถมมีการ เปลี่ยนตัวล่วงหน้า เอานักเตะที่มี skill การยิงประตูดีเข้ามายิง

นักเตะที่ถูกเปลี่ยนเข้ามา ถูกเพิ่มแรงกดดัน ว่าต้องยิงให้เข้า เพราะเปลี่ยนตัวมาเพื่อการนี้

ยิ่งกดดัน ยิ่งไม่เป็นธรรมชาติ ยิ่งเสียเปรียบ กว่าการยิงแบบไม่กดดัน

สุดท้าย อังกฤษยิงไม่เข้า 3 คน Rashford (มาร์คัส แรชฟอร์ด) ยิงออก

Sancho (เจดอน ซานโช) ยิงติด และลูกสุดท้าย Saka (บูกาโย ซากา) ยิงติด

ความมั่นใจของผู้รักษาประตู บวกกับความกดดันของนักเตะอังกฤษ ทำให้การชนะลูกโทษไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

แต่มีส่วนผสมมาจาก Sports psychology หรือจิตวิทยาการกีฬาที่ซ่อนอยู่.

พาวเวอร์บอมบ์

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.