ย้อนวินาที “อิตาลี” ผงาดแชมป์ “ยูโร 2020” หลัง “ซากา” พลาดโทษ (คลิป) – ไทยรัฐ
ไทยรัฐออนไลน์
14 ก.ค. 2564 05:16 น.
ย้อนวินาทีที่ทาง “ทีมชาติอิตาลี” ผงาดคว้าแชมป์ “ยูโร 2020” ไปครองได้อย่างยิ่งใหญ่ หลังจากที่ “บูกาโย ซากา” แข้งทีมชาติอังกฤษซัดจุดโทษพลาด
วันที่ 14 ก.ค. 64 ควันหลงหลังจากที่ “อัซซูรี” ทีมชาติอิตาลี ภายใต้การนำทีม โรแบร์โต มันชินี ผงาดคว้าแชมป์ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ “ยูโร 2020” ไปครองได้อย่างยิ่งใหญ่เป็นสมัยที่ 2 ในประวัติศาสตร์ ต่อจากครั้งแรกที่พวกเขาทำได้ในปี 1968 หรือ 53 ปีที่ผ่านมาพร้อมกับยืดสถิติไม่แพ้ใคร 34 นัดติดต่อกัน
เป็นที่เข้าใจกันว่า “อัซซูรี” ทีมชาติอิตาลี ดวลจุดโทษเอาชนะ “สิงโตคำราม” ทีมชาติอังกฤษ ที่สนามเวมบลีย์ 3-2 หลังจากที่ในเวลา 120 นาทีเสมอกันอยู่ที่ 1-1 หลังจาก ลุค ชอว์ ยิงให้ทัพ “ทรีไลออน” ขึ้นนำ 1-0 ตั้งแต่นาทีที่ 2 ก่อนที่ เลโอนาร์โด โบนุชชี จะยิงคืนให้ทีมจากแดนมักกะโรนี ตีเสมอ 1-1 ในนาทีที่ 67 ของเกม
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.