Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เผย 30 อันดับสนามฟุตบอลที่มีบรรยากาศดีที่สุดในโลก – บทความฟุตบอลต่างประเทศ – SMMSPORT

Football Sponsored
Football Sponsored

แอนฟิลด์, บอมโบเนร่า, เซลติก ฯลฯ สนามฟุตบอลของสโมสรไหนกันแน่นะที่จะมีบรรยากาศการเชียร์ที่ดีที่สุดในโลก เราลองตามไปเช็คกัน

               ถือเป็นเรื่องที่ดีสุดๆ กับการได้เห็นแฟนๆ กลับมาที่สนามในการแข่งขันพรีเมียร์ ลีก อีกครั้งเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เมื่อทุกทีมเหย้าในลีกจะมีกองเชียร์สูงสุดถึง 10,000 คนมาให้กำลังใจทีมรัก มันสร้างความแตกต่างเป็นอย่างมากและเป็นการเตือนเราว่า ฟุตบอลนั้นคิดถึงแฟนบอลมากแค่ไหน และก็ได้แต่หวังว่าในช่วงต้นฤดูกาลหน้า ทุกสนามทั่วยุโรปจะมีคนดูเต็มความจุ 100% และกีฬาที่เราชื่นชอบมากก็สามารถกลับมาได้อย่างเต็มตัวเสียที

               เมื่อสนามต่างๆ สามารถขายบัตรได้หมดเกลี้ยงอีกครั้ง เราก็จะสามารถคาดหวังว่าบรรยากาศภายในแต่ละสนามจะเต็มไปด้วยความตื่นเต้น พวกเขาควรจะได้ชดเชยเวลาที่เสียไป แต่สนามใดจะมีชีวิตชีวามากที่สุด? เมื่อปีที่แล้ว France Football ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานบัลลงดอร์ได้จัดอันดับสนาม 30 แห่งทั่วโลกที่มีบรรยากาศดีที่สุดออกมา และผลก็ออกมาดังนี้

30 | มิลเลอร์เทอร์ – สตาดิโอน | เซนต์พอล | เยอรมนี
ความจุ – 29,546

29 | ปาร์ก เดส์ แพร็งส์ | PSG | ฝรั่งเศส
ความจุ – 47,929

28 | สนาม สต๊าด โอลิมปิก เดอ ราเดส| สโมสรกีฬาเอสเปรานซ์ เดอ ทูนิส | ตูนิเซีย
ความจุ – 60,000

27 | สนาม Stade du 5 Juillet | สโมสรฟุตบอลเอ็มซี แอลเจอร์| แอลจีเรีย
ความจุ – 64,000

26 | เอสตาดิโอ ดา ลูซ | เบนฟิก้า | โปรตุเกส
ความจุ – 64,642

25 | สนาม มาร์ชาล โยเซฟ ปิวซุดสกี้ สเตเดียม | สโมสรลีเกีย วอร์ซอว์ | โปแลนด์
ความจุ – 31,800

24 | เอสตาดิโอ เปโดร ไบเดเกน | ซาน ลอเรนโซ | อาร์เจนตินา
ความจุ – 47.964

23 | สตาดิโอ โอลิมปิโก | โรม่า | อิตาลี
ความจุ – 70,634

22 | เซนต์เจมส์ พาร์ค | นิวคาสเซิล | อังกฤษ
ความจุ – 52.354

21 | Campeon del Siglo | เปญญาโรล  | อุรุกวัย
ความจุ – 40,000

20 | สต๊าด โมฮัมเหม็ด วี | ราจาคาซาบลังกา และ ไวดาด คาซาบลังก้า| โมร็อกโก
ความจุ – 45,000

19 | สนาม ตูมบา | พีเอโอเค ซาโลนิก้า | กรีซ
ความจุ – 29,000

18 | เมสตาญ่า| บาเลนเลีย | สเปน
ความจุ – 55,000

17 | สนามกีฬา ซูครู ซาราโคกลู| เฟเนร์บาห์เช่ | ตุรกี
ความจุ – 29,000

16 | สนามกีฬานานาชาติไคโร | อัล อาห์ลี | อียิปต์
ความจุ – 74,000

15 | สนาม สต๊าด เจฟฟรัว-กีชาร์| แซงต์-เอเตียน | ฝรั่งเศส
ความจุ – 41,965

14 | สนามกีฬาเวโลโดรม | มาร์แซย์ | ฝรั่งเศส
ความจุ – 67,394

13 | ซานเปาโล | นาโปลี | อิตาลี
ความจุ – 55,000

12 | เดอคุปส์ | เฟเยนูร์ด | เนเธอร์แลนด์
ความจุ – 51,117

11 | เติร์ค เทเลคอม อารีน่า | กาลาตาซาราย | ตุรกี
ความจุ – 24,354

10 | มาราคาน่า  | ฟลาเมงโก | บราซิล
ความจุ – 78,838

9 | ซาน มาเมส | แอธเลติก บิลเบา | สเปน
ความจุ – 53,289

8 | คาไรสคาคิส สเตเดี้ยม | โอลิมเปียกอส | กรีซ
ความจุ – 32,115

7 | โวดาโฟน พาร์ค | เบซิคตัส | ตุรกี
ความจุ – 41,903

6 | สนามกีฬาอันโตนิโอ เบสปูซิโอ ลิเบร์ติ หรือ เอลโมนูเมนตัล หรือสนามกีฬาอนุสาวรีย์ริเวอร์เพลท | ริเวอร์เพลท | อาร์เจนตินา
ความจุ – 70,074

5 | เซลติก พาร์ค | เซลติก | สกอตแลนด์
ความจุ – 60,411

4 | สนามกีฬารายกอ มีติช | เร้ดสตาร์ | เซอร์เบีย
ความจุ – 53,000

3| ซิกนัล อิดูน่า พาร์ค | โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ | เยอรมนี
ความจุ – 81,365

2 | แอนฟิลด์ | ลิเวอร์พูล | อังกฤษ
ความจุ – 54,074

1 | ลา บอมโบเนร่า | โบค่า จูเนียร์ส | อาร์เจนตินา
ความจุ – 49,000

               ดังนั้นสนามกีฬาที่มีบรรยากาศดีที่สุดในวงการฟุตบอลคือบอมโบเนร่าซึ่งเป็นที่ตั้งของโบค่า จูเนียร์ส ชื่อ บอมโบเนร่า แปลว่า “กล่องช็อคโกแลต” เนื่องจากรูปร่างของมันที่มีทรงประหลาดกับการมีแค่อัฒจันทร์เต็มส่วนเพียงแค่ 3 ด้าน แต่ทั้งสามด้านนั้นสูงชันถึง 3 ชั้น ซึ่งถือเป็นรูปทรงที่พิเศษอย่างแท้จริงไม่นับถึงเสียงเชียร์ที่กึกก้องระหว่างเกมบิ๊กแมทช์ของโบค่า

               อันดับที่สองและสามเป็นสนามกีฬาที่โดดเด่นของยุโรปคือซิกนัล อิดูน่า พาร์ค และแอนฟิลด์ บังเอิญที่แฟนๆ ทั้งดอร์ทมุนด์และลิเวอร์พูลร้องเพลง ‘You’ll Never Walk Alone’ ก่อนการแข่งขันกับแฟนๆ พันธุ์แท้ที่มารวมตัวกันหลังประตูตรงอัฒจันทร์ฝั่ง ‘เดอะ ค็อป’ หรือ ‘กำแพงสีเหลือง’ สนามกีฬาที่น่าเกรงขามของเร้ดสตาร์อยู่ในอันดับที่สี่ ในขณะที่อันดับห้าเป็นอีกหนึ่งสนามกีฬาที่จะได้ยินเพลง “You’ll Never Walk Alone” นั่นคือ เซลติก พาร์ค

               แต่เมื่อแฟนๆ ได้รับอนุญาตให้กลับเข้ามาได้ แม้แต่สนามที่เงียบที่สุดก็จะกลับมามีชีวิตชีวา และเราก็แทบจะรอเวลานั้นไม่ไหวแล้ว

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.