อินโดฯเลิกพะวงลงซ้อมสุดเข้ม 2 สตาร์ดังตามสมทบที่ยูเออี – สยามกีฬา ความเคลื่อนไหวของทัพ “การูด้า” ทีมชาติอินโดนีเซีย ชุดลุยศึกฟุตบอล โลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง กลุ่ม จี คู่แข่งเกมแรกของทัพ “ช้างศึก” ทีมชาติไทย หลังจากได้ลงสนามอุ่นเครื่องเป็นเกมแรกแพ้ ทีมชาติอัฟกานิสถาน 2-3 เมื่อคืนวันอังคารที่ 25 พ.ค.64 ที่ผ่านมา ล่าสุด ชิน แท ยัง” กุนซือใหญ่ของอินโดนีเซีย ได้นำลูกทีมปักหลักลงฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องที่ JA (Jebel Ali) Sports Center and Shooting Club ซึ่งเฮดโค้ชชาวเกาหลีใต้ ต้องการให้ลูกทีมลืมความผิดหวังจากเกมที่ผ่านมา และตั้งหน้าตั้งตาฝึกซ้อมอย่างมุ่งมั่นอีกครั้งเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของตัวเอง
บทสัมภาษณ์ของ ชิน แท ยัง จากเว็บไซต์หลักของสมาคมกีฬา ฟุตบอล แห่งอินโดนีเซียอย่าง PSSI เผยว่า “เราตั้งใจฝึกซ้อมเฉพาะช่วงบ่าย เพราะผมต้องการให้เวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอสำหรับผู้เล่นหลังจากการแข่งขันที่ผ่านมา”
“อย่างที่เคยบอกไปว่าทีมเรายังอยู่ระหว่างดำเนินการ หลังจบเกมเราแก้ไขข้อผิดพลาดทีละข้อทันที โดยในการฝึกซ้อมได้เห็นหน้าใหม่ 2 คนที่เพิ่งตามมาสมทบกับทีมนั่นคือ อาลีฟ ซาเตรีย เซ็นเตอร์แบ็คของเปอร์ซิบายา และดีดิกห์ วิจายาน กองหลังจากทีไออาร์เอ-เปอร์ซิคาโบ”
สำหรับทีมชาติอินโดนีเซีย จะมีคิวลงสนามอุ่นเครื่องอีก 1 นัด พบกับทีมชาติโอมาน ในวันที่ 29 พ.ค.64 ซึ่งเกมนี้เป็นเกมฟีฟ่า (เอ แมตช์) มีผลในการจัดอันดับฟีฟ่าแรงกิ้งอีกด้วย ก่อนจะทำศึกคัดบอลโลก พบกับ ทัพ “ช้างศึก” ทีมชาติไทย ในวันที่ 3 มิ.ย.64 ตามลำดับ
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอล ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.
Accept