Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เศรษฐีจีนทุ่มซื้อทีมฟุตบอล ก่อนส่งตัวเอง-ลูก ลงฟาดแข้งในสนาม – ข่าวสด

Football Sponsored
Football Sponsored

นักธุรกิจจีนสุดทุ่ม ลงทุนซื้อทีมฟุตบอล เพื่อให้สานฝันตัวเองและลูกชาย สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ ซื้อเอง เตะเอง นักเลงพอ!

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

“เหอ ซือหัว” นักธุรกิจหนุ่มวัย 35 ปี ผู้หลงใหลในฟุตบอลได้คิดการณ์ไกล รวบรวมเงินทุ่มซื้อ“สโมสรฟุตบอล Zibo Cuju” เพื่อขอให้โค้ชใส่ชื่อของเขาและลูกชาย ลงไปในรายชื่อนักเตะของทีม แม้ว่าพวกเขาจะมีหรือไม่มีทักษะการเตะบอลก็ตาม!

เหตุการณ์เกิดขึ้นช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ในนัดที่ Zibo Cuju เจอกับ Sichuan Jiuniu เหอ ซือหัว ถูกเปลี่ยนตัวลงสนาม ก่อนจะเข้าสู่ช่วงทดเวลาบาดเจ็บเพียงไม่กี่นาที โดยสวมเสื้อหมายเลข 10 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหมายเลขดังกล่าว มักจะสงวนไว้สำหรับนักเตะที่ดีที่สุดของทีม

เท่านั้นยังไม่พอ ในเกมต่อมา เหอ ซือหัว ได้กดดันให้โค้ชใส่ชื่อลูกชายของเขาลงในรายชื่อผู้เล่นหลัก ซึ่งมันจะไม่เป็นประเด็นนัก หากลูกชายของเขามีทักษะหรือความเหมาะสมในการลงแข่งมากพอ

มีรายงานว่าลูกชายของ เหอ ซือหัว มีน้ำหนักมากถึง 126 กิโลกรัม ซึ่งหลายคนมองว่าไม่เหมาะสำหรับการลงแข่ง และเมื่อชาวเน็ตได้ลองดูคลิปการแข่งขันของลูกชาย มันก็ไม่น่าพอใจเสียเท่าไหร่ แต่เพื่อนร่วมทีมคงไม่สามารถเอ่ยปากอะไรได้มากนัก

การกระทำของ เหอ ซือหัว ที่ใช้เงินซื้อสโมสรสานฝันให้เขาและลูกชาย มีกระแสตอบรับที่หลากหลายบนโลกออนไลน์ บางคนก็ปรบมือในความทะเยอทะยาน บางคนก็มองว่าเขาและลูกชายกำลังสร้างความลำบากใจให้เพื่อนร่วมทีม

จนถึงตอนนี้ ยังไม่เห็นว่าการลงทุนของ เหอ ซือหัว จะสร้างความคุ้มค่าให้ทางสโมสรนัก เนื่องจาก Zibo Cuju อยู่อันดับสุดท้ายในลีก ลงเตะ 5 เกม เสมอ 1 แพ้ไป 4 ทำให้มีเพียงแต้มเดียวเท่านั้น รั้งบ๊วยของตารางเลยทีเดียว

ขอบคุณที่มา odditycentral

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.