Football Sponsored

เปิดทุกตัวเลขที่ “ลิเวอร์พูล” ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขาดทุนเกือบ 2 พันล้านบาท

Football Sponsored
Football Sponsored

ผลประกอบการของ ลิเวอร์พูล ถึงเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วในช่วงโควิด-19 ขาดทุนร่วม 2 พันล้านบาท และยังจ่ายค่าจ้างนักเตะเพิ่มขึ้นอีก 4.8 เปอร์เซ็นต์

วันที่ 27 เม.ย. 64 ลิเวอร์พูล ทีมยักษ์ใหญ่ในศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ รายงานผลประกอบการในรอบปีบัญชีจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่สโมสรทั่วโลกต้องหยุดการแข่งขันชั่วคราวตั้งแต่เดือนมีนาคม จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรก ก่อนกลับมาแข่งขันต่อแบบปิด ไม่มีแฟนบอลเข้าสนามในเดือนมิถุนายน ปีที่แล้ว ซึ่งในช่วง 3 เดือนดังกล่าวได้รับผลกระทบทางการเงินอย่างหนัก

นอกจากนี้ “หงส์แดง” ยังแพ้ แอตเลติโก มาดริด ตกรอบ 16 ทีม ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ฤดูกาลที่แล้วด้วย ทำให้มีตัวเลขขาดทุนก่อนหักภาษีอยู่ที่ 46 ล้านปอนด์ (1,978 ล้านบาท) ซึ่งเท่ากับการแกว่งตัวติดลบ 88 ล้านปอนด์ (3,784 ล้านบาท) จาก 12 เดือนก่อนหน้านั้น ทั้งที่เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2020 ยังประกาศผลกำไร 42 ล้านปอนด์ (1,806 ล้านบาท) ซึ่งเป็นครั้งที่ 5 ในรอบ 6 ปีหลังสุดที่ไม่ขาดทุน

ขณะเดียวกัน ลิเวอร์พูล ยังต้องแบกรับภาระการจ่ายค่าเหนื่อยของนักเตะเพิ่มขึ้นอีก 4.8 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 310 ล้านปอนด์ (13,330 ล้านบาท) เป็น 325 ล้านปอนด์ (13,975 ล้านบาท) ซึ่งตัวเลขนี้เป็นรองแค่ทีมเดียวในพรีเมียร์ลีก นั่นคือ แมนเชสเตอร์ ซิตี้

สโมสรประเมินว่าผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้รายได้ที่ “หงส์แดง” ควรจะได้รับต้องหายไปถึง 120 ล้านปอนด์ (5,160 ล้านบาท) ขณะที่หนี้ภายนอกของสโมสรก็เพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านปอนด์ (2,150 ล้านบาท) เป็น 198 ล้านปอนด์ (8,514 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นถึง 296 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว แต่ ดิ แอธเลติก รายงานว่าส่วนสำคัญของยอดหนี้ได้รับการชำระคืนแล้ว

ส่วนผลประกอบการด้านอื่นๆ ของ ลิเวอร์พูล มีดังนี้

รายได้จากสื่อ ลดลง 59 ล้านปอนด์ (2,537 ล้านบาท) เหลือ 202 ล้านปอนด์ (8,686 ล้านบาท)

รายได้จากวันที่มีการแข่งขัน ลดลง 13 ล้านปอนด์ (559 ล้านบาท) เหลือ 71 ล้านปอนด์ (3,053 ล้านบาท)

รายได้เชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 29 ล้านปอนด์ (1,247 ล้านบาท) เหลือ 217 ล้านปอนด์ (9,331 ล้านบาท)

รายได้โดยรวม ลดลง 43 ล้านปอนด์ (1,849 ล้านบาท) เหลือ 490 ล้านปอนด์ (21,070 ล้านบาท)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.