Football Sponsored

เงินถึงมาเลย!เผยราคาที่เกลเซอร์ตั้งแลกขายแมนยู

Football Sponsored
Football Sponsored

เดอะ มิร์เรอร์ สื่อของอังกฤษ ตีข่าว ตระกูลเกลเซอร์กำหนดราคาขาย แมนฯ ยูไนเต็ด อยู่ที่ 4 พันล้านปอนด์ หลังจากที่ผ่านมาพวกเขาโดนกระแสต่อต้านจากแฟนบอล “ปีศาจแดง” มากขึ้น

    ตระกูลเกลเซอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยอดสโมสรแห่งเวที พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ตั้งราคาขายทีมเอาไว้ที่ 4 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 160,000 ล้านบาท) ตามรายงานของ เดอะ มิร์เรอร์ สื่อชั้นนำของเมืองผู้ดี

    นับตั้งแต่ที่ตระกูลเกลเซอร์ซึ่งนำโดย มัลคอล์ม ซื้อ แมนฯ ยูไนเต็ด ไปไว้ในครอบครองเมื่อปี 2005 ด้วยข้อเสนอมูลค่า 790 ล้านปอนด์ (ประมาณ 31,600 ล้านบาท) แล้วนั้น พวกเขาก็โดนเหล่าแฟนบอลตำหนิอย่างหนักมาโดยตลอดว่ามองถึงเรื่องเงินมากกว่าความสำเร็จและเกียรติยศของสโมสร โดยปัจจุบันแม้ว่าจะเข้าสู่ยุคการบริหารของ อัฟราม กับ โจเอล ทายาทของ มัลคอล์ม แล้วนั้น แต่กระแสการต่อต้านตระกูลเกลเซอร์จากฝั่ง “เร้ด อาร์มี่” ก็ยังมีอยู่เรื่อยๆ

    ทั้งนี้ ช่วงหลายวันที่ผ่านมากระแสการต่อต้านตระกูลเกลเซอร์ของแฟนบอล แมนฯ ยูไนเต็ด ก็รุนแรงขึ้นอีกหลังจากที่กลุ่มนักลงทุนชาวอเมริกันเคยคิดที่จะให้ทีมแยกตัวจากรายการระดับทวีปของสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยเมื่อวันเสาร์ที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา ก็มีแฟนบอลไปรวมตัวกันหน้า โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เพื่อขับไล่พี่น้องเกลเซอร์ด้วย

    สำหรับสาเหตุที่ทำให้พวกเขาตั้งเงินไว้ในระดับนั้นเป็นเพราะพี่น้องเกลเซอร์มองว่ามันสอดคล้องกับประวัติศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์ของสโมสร รวมถึงสอดคล้องกับชื่อเสียงของสโมสรที่ทำให้ทีมมีอำนาจการตลาดที่สูงจนมักจะได้สัญญาด้านสปอนเซอร์มูลค่างามๆ ตามไปด้วย นอกจากนี้ พวกเขาก็เคยมองด้วยว่าทีมจะมีมูลค่าระดับ 4 พันล้านปอนด์ได้เลยถ้าหากได้เล่นศึก ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก จริงๆ

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.