Football Sponsored

“อัยยวัฒน์’ขึ้นแท่นอันดับ 1 บริหารดีที่สุดในพรีเมียร์ลีก

Football Sponsored
Football Sponsored

สื่อนอกยก “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” แห่งเลสเตอร์ ซิตี เป็น “เจ้าของทีมที่ดีที่สุด” ในพรีเมียร์ ลีก อังกฤษ

วานนี้ (22 เม.ย.) รายงานข่าวจากประเทศอังกฤษระบุว่า GiveMeSport เว็บไซต์กีฬาชื่อดังของประเทศอังกฤษ ได้จัดอันดับ 20 เจ้าของสโมสรฟุตบอลที่บริหารงานได้ดีที่ในศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ โดย “ต๊อบ” อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา เจ้าของสโมสร “จิ้งจอกสยาม” เลสเตอร์ ซิตี้ ถูกยกให้เป็นเจ้าของสโมสรฟฺตบอลอันดับ 1 ที่บริหารงานได้ดีที่สุดในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ

เหตุผลที่ อัยยวัฒน์ เจ้าของทีมคนไทยได้รับการยกย่อง เพราะตั้งแต่ตระกูลศรีวัฒนประภา เข้ามายัง คิง เพาเวอร์ สเตเดียม ก็ให้ความสำคัญกับแฟนบอลมาเป็นลำดับต้นๆ ซื้อนักเตะอันน่าทึ่งก่อนขายออกไปได้เงินเป็นกอบเป็นกำ ที่สำคัญเลย คือ การเป็นแชมป์ พรีเมียร์ ลีก เมื่อฤดูกาล 2015-16 ที่เรียกได้ว่าเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่ทีมใดยากจะเลียนแบบและล่าสุดคือแต่งตั้ง เบรนแดน ร็อดเจอร์ส เลือกถูกคนกำลังพาทีมไป ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก ในปีหน้า

ขณะที่ท็อป 10 มี 6 ทีมที่คิดก่อตั้งลีกใหม่คือ ยูโรเปียน ซูเปอร์ ลีก ติดเข้ามาทีมเดียวคือ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ภายใต้เจ้าของทีมเงินหนาจากอาบูดาบีทุ่มเงินทำทีมโดยติดอันดับ 7 ที่เหลือคือ เชลซี อันดับ 11 สเปอร์ส อันดับ 15 อาร์เซนอล อันดับ 18 ลิเวอร์พูล อันดับ 19 และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด อันดับ 20

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า การที่สื่ออังกฤษเลือก อัยยวัฒน์ เจ้าของทีม เลสเตอร์ นั้นเป็นการตอกย้ำว่า ไม่เอา ยูโรเปียน ซูเปอร์ ลีก ที่ต้องการก่อตั้งขึ้นโดยทีมที่อยากจะกอบโกยเงินเพียงอย่างเดียวอย่างบิ๊ก 6 ของพรีเมียร์ ลีก

ทั้งนี้เมื่อปี 2563 อัยยวัฒน์ ก็ได้รับการโหวตจากแฟนบอลที่จัดทำโดย “AgainstLeague3” เป็นอันดับ 2 ในฐานะประธานสโมสรที่ดีที่สุดของอังกฤษ จากทีมทั้งในลีกและนอกลีกถึง 144 แห่ง เป็นรองเพียง แอนดี้ โฮลท์ แห่ง แอคคริงตัน สแตนลี่ย์ ทีมในลีกวัน หรือดิวิชัน 3 ของประเทศอังกฤษ

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.