Football Sponsored

โมเดลบุนเดสลีกา “พรีเมียร์ลีก-สโมสรอังกฤษ” อาจใช้กฎ 50+1 ให้แฟนบอลร่วมถือหุ้น

Football Sponsored
Football Sponsored

สโมสรในพรีเมียร์ลีก รวมถึงทุกระดับในอังกฤษ อาจปรับโครงสร้างใหม่ โดยให้แฟนบอลเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับผู้บริหาร ตามรอย บุนเดสลีกา เยอรมัน

วันที่ 23 เม.ย. 64  บีบีซี สปอร์ต สื่อชั้นนำของเมืองผู้ดีรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษเตรียมเสนอแผนปฏิรูปการบริหารของบรรดาสโมสรฟุตบอลอาชีพทั่วประเทศ ในด้านความเป็นเจ้าของ, การเงิน และการมีส่วนร่วมของแฟนบอล หลังเกิดดราม่าที่ 6 ทีมใหญ่ของศึกพรีเมียร์ลีก ประกอบด้วย ลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, แมนเชสเตอร์ ซิตี้, อาร์เซนอล, สเปอร์ส และ เชลซี ไปร่วมโปรเจกต์ “ยูโรเปียน ซูเปอร์ลีก” เพื่อสร้างการแข่งขันรายการใหม่ขึ้นมา

ทั้งนี้ กลุ่ม “บิ๊กซิกซ์” ได้เข้าไปเป็น 12 ทีมแกนนำของ “ยูโรเปียน ซูเปอร์ลีก” ซึ่งจะแยกตัวออกไปจัดการแข่งขันกันเองแทนการเข้าร่วม ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก และ ยูโรปาลีก ของ สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) เนื่องจากยังไม่พอใจตัวเลขผลประโยชน์ในปัจจุบัน หลังเจอวิกฤติโควิด-19 ก่อนถูกกระแสต่อต้านอย่างหนักจนต้องยอมถอนตัว

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดสัปดาห์นี้ ทำให้ล่าสุด ไนเจล ฮัดเดิลสตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬา ออกมาเปิดเผยว่าจะมีการทบทวนเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารสโมสรลูกหนังโดยให้แฟนบอลเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

แผนดังกล่าวได้มีการมอบหมายให้ เทรซีย์ เคราช์ สมาชิกรัฐสภาเป็นประธานการตรวจสอบและรายงานข้อเสนอแนะกลับไปยังรัฐบาล รวมถึงสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟเอ) ซึ่งจะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อความยั่งยืนของวงการฟุตบอล, ความสามารถในการแข่งขัน และที่สำคัญที่สุดคือความผูกพันที่สโมสรมีต่อแฟนบอลและชุมชนท้องถิ่น

รายงานระบุว่า วงการฟุตบอลอังกฤษอาจพิจารณานำรูปแบบการบริหารของสโมสรในประเทศเยอรมนี ที่เรียกว่า “กฎ 50+1” มาใช้ ซึ่งกำหนดให้แฟนบอลต้องเป็นเจ้าของสโมสร ด้วยการถือหุ้นอย่างน้อย 51 เปอร์เซ็นต์ และห้ามมีผู้บริหารคนใดคนหนึ่งถือหุ้นมากกว่า 49 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการรับประกันว่าสโมสรจะไม่อยู่ในเงื้อมมือของนายทุนที่จะเข้ามาเทคโอเวอร์ และนำสโมสรไปดำเนินธุรกิจตามใจชอบ

ติดตาม โปรแกรมการแข่งขันฟุตบอล พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ได้ที่นี่

ติดตาม ตารางคะแนนการแข่งขันฟุตบอล พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ได้ที่นี่

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.