Football Sponsored

ส.บอลไทย ยังไม่รู้ “ช้างศึก” ฉีดวัคซีเมื่อไหร่ ต้องกักตัวไหม?

Football Sponsored
Football Sponsored

พาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ รับไม่ยังไม่รู้กำหนดเข้ารับการฉียดวัคซียโควิดของ “นักเตะทีมชาติไทย” และหลังเตะฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลับมาถึงเมืองไทย ต้องกักตัว 14 วันหรือไม่ ต้องขอคุยกับ ศบค.ก่อน

ตามที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รอบ 3  ซึ่งอาจส่งผลผลกระทบกับการเตรียมความพร้อม “ช้างศึก” ทีมชาติไทย และการเดินทางการไปเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย รอบสอง กลุ่มจี ใน 3 นัด ที่เหลือที่จะไปแข่งขันที่ประเทศเป็นกลาง ที่ ยูเออี ในช่วงระหว่างวันที่ 3-15 มิถุนายน 2564  ซึ่งมันคาบเกี่ยวกับ การแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนส์ลีก 2021 รอบแบ่งกลุ่ม ของ บีจี ปทุม , การท่าเรือ เอฟซี , ราชบุรี มิตรผล จะฟาดแข้งกันอยู่ในช่วงระหว่าง มิ.ย.-ก.ค.64  ซึ่งยังไม่รวม รวม สิงห์ เชียงราย ที่ต้องไปเล่นรอบเพลย์ออฟด่านสุดท้ายกับทีม แดกู เอฟซี ของเคลีกเกาหลีใต้ เพื่อเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มอีกหนึ่งที 

จากกรณีดังกล่าวอาจส่งผลกระทบกับ 4 สโมสรของไทย ที่มีนักเตะทีมชาติไทยที่ต้องกลับมาลงแข่งขันในศึกฟุตบอล “เอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก 2021” ซึ่งอาจจะต้อเข้ารับการกักตัว 14 วันในทำให้อาจต้องชวดช่วยทีมลงฟาดแข้งในศึก ACL ได้ ทำให้ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม พาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ถึงกรณีดังกล่าว โดยได้รับคำตอบว่า  “เรื่องนี้เราจะต้องประเมินสถานการณ์เป็นรายเหตุการณ์ไปก่อน ตอนนี้ยังไม่สามารถกำหนดทิศทางอะไรได้ เพราะสถานการณ์มีการเกิดเหตุการณ์แบบรายวัน เบื้องต้นเราจะต้องหารือไปยัง ศบค. เพื่อดูถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก่อน”

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวถามต่อถึง กรณีที่นักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดคัดบอลโลกทั้ง 23 ราย ซึ่งจะมีบางส่วนที่จะต้องลงเล่นในเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนส์ลีกต่อเนื่องกับ 4 สโมสร ทั้ง บีจี ปทุม , การท่าเรือ เอฟซี , ราชบุรี มิตรผล รวมถึง สิงห์ เชียงราย มีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไรที่จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส โควิด-19 เพื่อลดขั้นตอนของการกักตัว ซึ่ง พาทิศ ศุภะพงษ์ เผยว่า “การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องที่ต้องหารือกับทุกฝ่าย ซึ่งเราได้มีการประชุมร่วมกับ ศบค. อย่างต่อเนื่อง แต่ก็อย่างที่เรียนไปเรายังต้องประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องในระยะนี้”

ขณะเดียวกันทาง สิงห์ เชียงราย โดย ปรัชญ์ มาลารัตน์ ผู้จัดการทีมฯ ได้เผยกับผู้สื่อข่าว เรื่องการเสนอไอเดีย ด้วยการเอาแบบอย่าง เอเอฟซี ในการที่ สิงห์ เชียงราย เดินทางไปแข่งขันเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนส์ลีก 2020 ที่ประเทศกาตาร์ สนามเป็นกลาง ซึ่ง เอเอฟซี เริ่มนับหนึ่งในการกักตัว 14 วันพร้อมกับการฝึกซ้อมเตรียมทีมไปในตัว โดยเป็นการกักตัวที่มีการฝึกซ้อมไปด้วย แต่จะเข้มงวดมากๆ ให้อยู่แต่ในห้อง กับไปสนามซ้อม ไม่มีโอกาสได้ไปที่ไหน และมีการตรวจเชื้อในระหว่าง 14 วันด้วย น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดกับสโมสรที่ต้องลงเล่นในสภาวะแบบนี้ แต่หากต้องกักตัวเพียวๆอย่างเดียว 14 วันคงจะส่งผลกระทบกับการเตรียมทีมอย่างแน่นอน

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.