สื่อประเมินมาดริดสูญรายได้15ล้านยูโรใน4วัน | thsport.com – thsport.com
วันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2564
351
การแพร่ระบาดของเชื้อ’โควิด-19’ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะกับสโมสรฟุตบอลที่สูญเสียรายได้จำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่มีแฟนบอลเข้าชมเกมในสนามตามปกติ
‘มาร์ก้า’ สื่อเมืองกระทิงประเมินว่า เรอัล มาดริด สูญเสียรายได้อย่างน้อย 15 ล้านยูโรในรอบ 4 วันจากการลงเล่นฐานะทีมเหย้า 2 เกมใหญ่กับ ลิเวอร์พูล บนเวทีแชมเปี้ยนส์ลีก ต่อด้วยแมตช์ ‘เอล กลาซิโก้’ กับ บาร์เซโลน่า เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อ’โควิด-19’จนไม่สามารถเปิดให้แฟนบอลเข้าชมเกมในสนามตามปกติ
จากการประเมินระบุว่า เรอัล มาดริด ควรจะทำเงินอย่างน้อย 10 ล้านยูโรหากเกมกับ ลิเวอร์พูล ลงเล่นบนสังเวียน ‘ซานติอาโก้ เบร์นาเบว’ ไม่นับรวมตั๋วปี เมื่อวันอังคาร รวมถึงรายได้จากแมตช์ ‘เอล กลาซิโก้’ กับ บาร์เซโลน่า ในอีก 4 วันต่อมา นับเฉพาะ 2 เกมใหญ่ใน 2 รายการนี้จะทำเงินให้ทีมชุดขาวในช่วงสถานการณ์ปกติไม่ต่ำกว่า 15 ล้านยูโร แม้สโมสรจะพยายามลดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆลงก็ตาม แต่มันยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยความสูญเสียเหล่านั้น
นอกจากนี้เกมที่ เรอัล มาดริด ลงเล่นรายการแชมเปี้ยนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่มกับ ชัคตาร์ โดเน็ตส์ค, มึนเช่นกลัดบัค และ อินเตอร์ มิลาน รวมถึงเกมรอบ 16 ทีมกับ อตาลันต้า โดยไม่มีแฟนบอลเข้าชมเกมในสนามยังทำให้สโมสรเสียรายได้เกมละอย่างน้อย 3 ล้านยูโร ซึ่งทีมชุดขาวเลือกย้ายมาเล่นที่สนาม ‘อัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่’ ในซีซั่นนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและดูแลสนามขนาดใหญ่อย่าง ‘ซานติอาโก้ เบร์นาเบว’ด้วย
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.