Football Sponsored

เลสเตอร์ยินดี “อัยยวัฒน์” ปลดหนี้ 194 ล้านปอนด์ให้ทีม

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“บิ๊กต๊อบ” อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรฟุตบอล “เดอะ ฟ็อกซ์” เลสเตอร์ ซิตี้ จัดการแปลงหนี้คงค้างของสโมสรให้กับ คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทแม่ซึ่งก่อนหน้านี้มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของสโมสร

เงินกู้ที่เกี่ยวข้อง และดอกเบี้ยทั้งหมด จำนวน 194 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 7,800 ล้านบาท ได้ถูกแปลงให้เป็นทุนกลับมาที่บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (KPI) ซึ่งครอบครัวศรีวัฒนประภา เป็นเจ้าของโดยตรง

สำหรับเงินทุนดังกล่าว ทางบริษัท คิง เพาเวอร์ ได้ให้สโมสรยืมเพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในการก่อสร้างสนามฝึกซ้อมระดับโลกแห่งใหม่ที่ซีเกรฟ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และยังคงสนับสนุนการลงทุนของสโมสรในด้านต่าง ๆ รวมถึงทีมฟุตบอลหญิงในช่วงการระบาดของเชื้อโควิด-19

การแปลงหนี้เป็นทุนครั้งนี้ ช่วยให้สโมสรมีงบดุลการเงินที่แข็งแกร่งและช่วยลดภาระดอกเบี้ยในอนาคต ซึ่งสะท้อนถึงการแสดงเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของบริษัท คิง เพาเวอร์ ในการสนับสนุนสโมสรเลสเตอร์อย่างยั่งยืนในระยะยาว

ตั้งแต่ปี 2010 ที่ครอบครัวศรีวัฒนประภา ได้เข้ามาเป็นเจ้าของและบริหารสโมสรแห่งนี้ นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ได้มีการดำเนินการแปลงหนี้ให้เป็นทุน โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2013 ทางสโมสรฯ ได้ดำเนินการ แปลงหนี้ ให้เป็นทุน จำนวน 103 ล้านปอนด์ ทั้งสองกรณีก่อให้เกิดความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้นทั้งหมดของสโมสร

อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ กล่าวว่า “การรักษาความมั่นคงในระยะยาวของสโมสรมีความสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานในการลงทุนในอนาคตของสโมสรมาโดยตลอด เราต้องแน่ใจว่าเส้นทางที่เราจะก้าวต่อไปอยู่บนพื้นฐานการเงินที่มั่นคงและปลอดภัยที่สุด”

“ผมเชื่อมั่นในเลสเตอร์ ซิตี้ และเชื่อในสิ่งที่สโมสรทำให้กับแฟนบอล และชาวเมืองเลสเตอร์รวมถึงแฟนบอลในประเทศไทยตลอดจนทั่วโลก ความศรัทธาที่ทุกคนมอบให้พวกเราในการบริหารสโมสร ด้วยความรับผิดชอบเป็นแนวทางในการตัดสินใจและยังเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สโมสรมีช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร” บิ๊กต๊อบ ทิ้งท้าย

ทั้งนี้เมื่อปี 2010 ครอบครัวศรีวัฒนประภา ได้เข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ และทีมก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้สโมสรเติบโตจากทีมในแชมเปี้ยนชิพจนก้าวขึ้นสู่การแข่งขันในระดับพรีเมียร์ ลีก ซึ่งครอบครัวศรีวัฒนประภา ได้ดูแลและสร้างความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่างการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกในปี 2016, แชมป์เอฟเอ คัพ และ คอมมูนิตี้ชิลด์ ในปี 2021 และการเข้าไปแข่งขันในยุโรปถึง 3 รายการ

ศูนย์ฝึกซ้อมแห่งใหม่ที่ทันสมัยของสโมสรในซีเกรฟ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตเลสเตอร์เชียร์ เปิดเข้าใช้งานตั้งแต่เดือนธันวาคม 2020 โดยเป็นศูนย์ฝึกซ้อมที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับโลก สำหรับทีมชายของเลสเตอร์ และทีมเยาวชนอะคาเดมี่ที่อยู่ในช่วงพัฒนาฝีเท้าของสโมสร ในปีเดียวกันเลสเตอร์ได้เปิดตัวทีมหญิง ซึ่งสามารถคว้าแชมป์ และการเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดในฤดูกาลแรกเมื่อทีมก้าวขึ้นสู่ฟุตบอลอาชีพ

ภายใต้การบริหารของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ สโมสรยังคงผลักดันและสนับสนุนกิจกรรมในชุมชนทั่วเลสเตอร์เชียร์ โดยการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศลในปี 2012 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิวิชัย ศรีวัฒนประภา ตามชื่ออดีตประธานสโมสรอันเป็นที่รักของเลสเตอร์ เพื่อสนับสนุนพัฒนาชุมชนของเราในทุกด้าน

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.