เกรงใจพ่อบ้าง ลูกชายตำนานแมนยูฯ โพสต์ 2 คำยก “แรชฟอร์ด” เป็นแข้งตำนานสโมสรที่แท้จริง
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2566 ไค รูนีย์ ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ เวย์น รูนีย์ ตำนานดาวยิงตลอดกาลของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้โพสต์ภาพที่เจ้าตัวถ่ายรูปคู่กับ มาร์คัส แรชฟอร์ด แข้งหมายเลข 10 คนปัจจุบันของทัพ “ปิศาจแดง”
โดย ไค รูนีย์ วัย 13 ปี ได้ไปพบกับ มาร์คัส แรชฟอร์ด ซีเนียร์ของแมนยูฯ หลังจบจากเกมที่เปิดบ้านเอาชนะ เรดดิง 3-1 ในเอฟเอ คัพ รอบ 4 เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งดาวเตะหนุ่มน้อยรายนี้ได้นำภาพไปโพสต์ในอินสตาแกรมส่วนตัวพร้อมข้อความ “Legend” หรือที่แปลว่า ตำนาน พร้อมสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเลยทีเดียว
ขณะเดียวกัน เวย์น รูนีย์ ผู้เป็นพ่อของ ไค ก็ได้แชร์ภาพต่อไปลงในอินสตาแกรมส่วนตัวเช่นกันพร้อมแท็กชื่อ มาร์คัส แรชฟอร์ด พร้อมข้อความขอบคุณอดีตเพื่อนร่วมทีมที่ถ่ายรูปคู่กับลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของเขา
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.