Football Sponsored

ฟอเรสต์หนาวแน่ เผย 3 เหตุผล “แรชฟอร์ด” เข้าห้องชาร์จพลัง ก่อนนำ “แมนยูฯ” ตัดเชือกลีกคัพ

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 25 มกราคม 2566 มาร์คัส แรชฟอร์ด ดาวยิงตัวเก่งของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด โพสต์ภาพผ่านทางโซเชียลมีเดียส่วนตัว ก่อนเกมคาราบาว คัพ (ลีกคัพ) รอบรองชนะเลิศ นัดแรก ซึ่งจะไปเยือน นอตติงแฮม ฟอเรสต์ ทีมร่วมศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนนี้ 03.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ภาพดังกล่าว มาร์คัส แรชฟอร์ด ที่โชว์ฟอร์มร้อนแรง ทำไปถึง 17 ประตู 6 แอสซิสต์จาก 28 นัดในฤดูกาลนี้ กำลังแช่ตัวเองอยู่ในห้องแช่แข็ง ซึ่งด้านหลังของเขามีตัวเลขระบุว่าอุณหภูมิอยู่ในระดับ -113 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว โดยเจ้าตัวเขียนแคปชั่นระบุว่า “ฟื้นฟูร่างกาย” ทำเอาแฟนๆ เข้ามาคอมเมนต์ด้วยความสงสัยว่าดาวยิงวัย 25 ปี ทนความเย็นระดับนี้ได้อย่างไร

ด้าน เดอะ ซัน สื่อดังเมืองผู้ดี ได้อธิบาย 3 เหตุผลที่ แรชฟอร์ด เข้าห้องแช่แข็งว่า เมื่อยืนอยู่ในห้องประมาณ 3 นาที ไนโตรเจนเหลวจะช่วยให้ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งการบำบัดด้วยความเย็นจะช่วยให้หายจากความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ, ลดอาการบวม อักเสบ หรือเคล็ดขัดยอก ทำให้เขาพร้อมสำหรับการแข่งขัน หรือการฝึกซ้อมครั้งต่อไปได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ คริสเตียโน โรนัลโด อดีตยอดดาวยิงแมนยูฯ ที่ย้ายไป อัล นาสเซอร์ ในลีกซาอุดีอาระเบีย หลังยกเลิกสัญญาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ก็เคยเข้าห้องแช่แข็งเช่นเดียวกับ แรชฟอร์ด เพื่อรักษาสภาพร่างกายให้ฟิตสมบูรณ์อยู่เสมอ.

*ขอบคุณภาพจาก Instagram : marcusrashford

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.