Football Sponsored

ยูฟ่า เตรียมปรับกฎการเงินดักทาง เชลซี หลังเซ็นแข้งใหม่สัญญายาว

Football Sponsored
Football Sponsored
ยูฟ่า เตรียมปรับกฎการเงินดักทาง เชลซี หลังเซ็นแข้งใหม่สัญญายาว

สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป หรือ ยูฟ่า เตรียมปรับกฎการเงินใหม่ เพื่อแก้ทางสโมสรอย่างเชลซีที่เซ็นสัญญานักเตะใหม่ในระยะยาว ทั้งนี้ก็เพื่อกระจายงบค่าตัวนักเตะให้เหลือน้อยลงในแต่ละปี

หลังจาก เชลซี ภายใต้การบริหารงานของ ท็อดด์ โบห์ลี ได้มีการซื้อนักเตะใหม่เข้ามาในฤดูกาลนี้ พร้อมกับยื่นสัญญาระยะยาวที่มีความผิดปกติให้กับนักเตะทั้ง มิไคโล มูดริค ที่ได้รับสัญญา 8 ปีครึ่ง ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก ขณะที่ เบอนัวต์ บาเดียชิลล์ ได้รับสัญญา 7 ปีครึ่ง เวสลี่ย์ โฟฟาน่า รับสัญญาไป 7 ปี  โดยเชลซี วางการเซ็นสัญญาตรงนี้ก็เพื่อไม่ให้ได้รับการกระทบเรื่องการเงินในอนาคต

เชลซี เปิดตัว “มูดริค” เซ็นสัญญายาว 8 ปีครึ่ง

รู้จัก “มิไคโล มูดริค” แข้งใหม่เชลซี เจ้าของฉายา “เนย์มาร์แห่งยูเครน”

จากกรณีของ มูดริค ดาวเตะทีมชาติยูเครนนั้นทำให้ เชลซี ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสำหรับส่วนนี้ที่มีอยู่เพียงไม่ถึง 10 ล้านปอนด์เท่านั้น จากการคำนวณตามหลักกฎการเงินของยูฟ่า (FFP)

ตัวอย่างเช่น ค่าตัวของ มูดริค ที่ 80 ล้านปอนด์ จะคำนวณที่ 9.41 ล้านปอนด์ต่อปีโดยการคำนวณหลักกฎการเงินของยูฟ่า (FFP) ถ้า มูดริค เซ็นสัญญาเพียง 4 ปี จะถูกคำนวณที่ 20 ล้านปอนด์ต่อปี

ซึ่งจากกรณีดังกล่าว ทำให้ทางยูฟ่ามีแผนที่จะดักทางไม่ให้เชลซี และสโมสรอื่นๆ ทางอาจจะดำเนินรอยตามวิธีต่อไปในอนาคต ด้วยการจะปรับกฎการเงินใหม่ ให้แต่ละสโมสรสามารถแบ่งจ่ายค่าตัวนักเตะได้เพียงไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น

“หากสโมสรอื่นเริ่มทำแบบเดียวกันด้วยสัญญา 8 ปี มันจะยุ่งเหยิง ดังนั้นเราต้องปกป้องพวกเขา”

“มันเป็นเพียงการเปลี่ยนปัญหาไปสู่อนาคต สโมสรอาจติดอยู่กับนักเตะที่มีเงินเดือนสูงจนไม่สามารถปล่อยขายได้ หรือหากขายนักเตะออกไปหลังจาก 3-4 ปี พวกเขาจะไม่ได้กำไรมากนัก [ในทางบัญชี] เพราะค่าธรรมเนียมการโอนส่วนใหญ่ของนักเตะเหล่านี้ไม่ได้ถูกตัดจำหน่าย ”  แหล่งข่าวเปิดเผยกับสื่ออย่าง The Times

สำหรับ เชลซี ในฤดูกาลนี้ใช้เงินคว้าผู้เล่นเข้ามายังถิ่น สแตมฟอร์ด บริดจ์ 15 ราย มีมูลค่าสูงถึง 460.49 ล้านยูโร จากการอ้าง Transfermarkt และตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปด้วยเช่นกัน

คอนเทนต์แนะนำ


Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.