Football Sponsored

ผอ.สโมสรสเปอร์สเสี่ยงโดนแบนข้ามลีก ฐานพัวพันแต่งบัญชีสมัยอยู่ยูเว่

Football Sponsored
Football Sponsored
Reuters

ผอ.สโมสรสเปอร์สเสี่ยงโดนแบนข้ามลีก ฐานพัวพันแต่งบัญชีสมัยอยู่ยูเว่

“เดอะ การ์เดี้ยน” สื่ออังกฤษ รายงานว่า ท็อตแนม ฮอตสเปอร์ ทีมดังในศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ อาจเจอปัญหาใหญ่ หลังมีรายงานว่า โทษแบนของ ฟาบิโอ ปาราติชี่ ผู้อำนวยการสโมสร ที่โดนศาลในอิตาลีสั่งแบน 2 ปีครึ่ง โทษฐานมีส่วนกับการปลอมแปลงเอกสารและตกแต่งบัญชี รวมไปถึงการซื้อขายนักเตะในจำนวนเงินที่เกินความเป็นจริง โดยข้อกล่าวหาดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยที่เจ้าตัวยังทำงานอยู่กับ ยูเวนตุส ซึ่งการลงโทษในครั้งนี้อาจลุกลามมาถึงการโดนแบนในพรีเมียร์ลีก อังกฤษอีกด้วย

ก่อนหน้านี้โทษแบนของปาราติชี่นั้นมีผลแค่ในอิตาลีเท่านั้น แต่ล่าสุดมีรายงานเพิ่มเติมว่าโทษอาจลุกลามมาถึงการโดนแบนในพรีเมียร์ลีกด้วย เนื่องจากตามข้อบังคับด้านวินัยข้อที่ 66 ของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ซึ่งระบุว่า การขยายโทษแบนสามารถมีผลบังคับใช้ได้ทั่วโลก ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดที่ร้ายแรง

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี (เอฟไอจีซี) ได้ทำการตัดแต้มยูเวนตุส 15 แต้ม และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดนั้นจะได้รับโทษลดหลั่นกันไป อันเดรีย อัญเญลลี่ อดีตประธานสโมสรโดนแบน 2 ปี, เมาริซิโอ อาร์ริวาเบเน่ อดีตผู้อำนวยการบริหารสโมสร ถูกแบน 2 ปี ขณะที่ พาเวล เนดเวด ถูกแบน 8 เดือน อย่างไรก็ตาม สโมสรยูเวนตุสและบุคคลที่ถูกตัดสินให้ได้รับโทษ ได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และเตรียมที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลต่อไป

ด้านท็อตแนม ฮอตสเปอร์ ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นจากกรณีที่โทษแบนของ ฟาบริโอ ปาราติชี่ อาจจะถูกแบนห้ามทำงานในพรีเมียร์ลีกอังกฤษแต่อย่างใด

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.