Football Sponsored

อาร์เซนอลยิ้ม เปิด 7 สถิติ “แมนยูฯ” ยามมี-ไม่มี “คาเซมิโร” ในพรีเมียร์ลีก แตกต่างชัดเจน

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 20 มกราคม 2566 เดลี เมล สื่อดังเมืองผู้ดีเผยสถิติ 7 หัวข้อของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ฤดูกาล 2022-23 ตลอด 19 นัดที่ผ่านมา โดยเปรียบเทียบระหว่างเกมที่มีและไม่มี คาเซมิโร อยู่ในสนาม หลังจากกองกลางทีมชาติบราซิลสะสมใบเหลืองครบ 5 ใบในเกมล่าสุดที่เสมอ คริสตัล พาเลซ 1-1 ทำให้จะติดโทษแบนในบิ๊กแมตช์วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคมนี้ ซึ่งจะไปเยือนจ่าฝูง อาร์เซนอล

ปรากฏว่า แมนยูฯ มีเปอร์เซ็นต์ชนะที่น้อยกว่าชัดเจน ในยามที่ไม่มี คาเซมิโร อยู่ในสนาม รวมถึงผลงานในด้านต่างๆ เช่น การได้ประตู, เสียประตู, แต้มเฉลี่ย ดังนี้

7 สถิติของ แมนยูฯ ยามมี-ไม่มี “คาเซมิโร” ในพรีเมียร์ลีก 19 นัด ฤดูกาล 2022-23

แมนยูฯ (มี คาเซมิโร) 16 นัด : ชนะ 11 เสมอ 3

แมนยูฯ (ไม่มี คาเซมิโร) 3 นัด : ชนะ 1 แพ้ 2

เปอร์เซ็นต์ชนะ : (มี) 68.8% (ไม่มี) 33.3%

ยิงประตูเฉลี่ย : (มี) 1.7 ประตู/นัด (ไม่มี) 1 ประตู/นัด

เสียประตูเฉลี่ย : (มี) 0.9 ประตู/นัด (ไม่มี) 2.3 ประตู/นัด

แต้มเฉลี่ย : (มี) 2.3 คะแนน/นัด (ไม่มี) 1 คะแนน/นัด

โดนคู่แข่งยิงประตู : (มี) 10.8 ครั้ง/นัด (ไม่มี) 15 ครั้ง/นัด

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.