Football Sponsored

จุดจบระบบชนชั้น “แมนยูฯ” ออก “กฎโรนัลโด” ตั้งเพดานค่าเหนื่อยใหม่ กระทบ 1 แข้งขาใหญ่

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 8 มกราคม 2566 เดลี่เมล สื่อดังเมืองผู้ดี รายงานว่า แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทีมชั้นนำในศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ เตรียมบังคับใช้ “กฎโรนัลโด” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเรื่องค่าเหนื่อยของนักเตะในสโมสร หลังการแยกทางของ คริสเตียโน โรนัลโด ยอดดาวยิงทีมชาติโปรตุเกสที่ยกเลิกสัญญาไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ก่อนย้ายซบ อัล นาสเซอร์ ทีมเงินหนาแห่งซาอุดีอาระเบีย

กฎนี้ระบุว่า เพดานค่าเหนื่อยนักเตะสูงสุดของ แมนยูฯ จะลดลงมาอยู่ที่สัปดาห์ละ 200,000 ปอนด์ (8.2 ล้านบาท) ซึ่ง ดาบิด เด เคอา จะเป็นผู้เล่นคนแรกที่ได้รับผลกระทบตาม “กฎโรนัลโด” เนื่องจาก “ปิศาจแดง” กำหนดเงื่อนไขว่าผู้รักษาประตูมือ 1 ชาวสเปนจะต้องยอมลดค่าเหนื่อยลงจากเดิมที่ได้สัปดาห์ละ 375,000 ปอนด์ (15.37 ล้านบาท) ก่อนต่อสัญญาที่จะหมดลงในเดือนมิถุนายนนี้

การใช้กฎดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ แมนยูฯ จากเดิมที่สโมสรในยุคของ เอ็ด วูดเวิร์ด อดีตรองประธานกรรมการบริหาร พร้อมทุบเพดานค่าเหนื่อยเพื่อดึงดูดใจให้นักเตะบิ๊กเนม เช่น โรนัลโด ย้ายมาร่วมทีม แต่ล่าสุด ริชาร์ด อาร์โนลด์ ซีอีโอคนปัจจุบัน, จอห์น เมอร์เทอห์ ผู้อำนวยการฟุตบอล และ เอริก เทน ฮาก กุนซือคนใหม่เล็งเห็นว่าการกำหนดเพดานค่าจ้างจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำเรื่องรายได้ ซึ่งอาจนำมาสู่ความแตกแยกและความอิจฉาริษยากันภายในทีม

ทำให้บรรดานักเตะอาวุโสของ แมนยูฯ เช่น ราฟาเอล วาราน, แฮร์รี แม็กไกวร์, คาเซมิโร รวมถึง บรูโน เฟอร์นันเดส ที่เพิ่งต่อสัญญาเมื่อฤดูกาลที่แล้ว ต่างก็ได้รับค่าเหนื่อยในระดับเดียวกัน คือสัปดาห์ละ 180,000 ถึง 200,000 ปอนด์ (7.38 ถึง 8.2 ล้านบาท) และจะมีการลดค่าจ้างลงอีก หากไม่สามารถคว้าโควตาไปเล่น ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ในฤดูกาลถัดไปได้

การปรับเพดานครั้งนี้จะช่วยให้ แมนยูฯ มีผู้เล่นที่ได้ค่าตอบแทนในระดับต้นๆ ของสโมสรมากขึ้น แทนที่จะเทค่าเหนื่อยสัปดาห์ละ 500,000 ปอนด์ (20.5 ล้านบาท) ให้กับนักเตะบิ๊กเนมแค่คนเดียวเหมือนที่ผ่านมา.

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.