Football Sponsored

เปิด 10 ดาวยิงสูงสุด “ลิเวอร์พูล” หลัง “ซาลาห์” ขึ้นที่ 7 ลุ้นแซง 2 ตำนาน-ยังห่างที่ 1

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 8 มกราคม 2566 ควันหลงฟุตบอลเอฟเอ คัพ รอบ 3 ซึ่ง ลิเวอร์พูล เปิดบ้านเสมอ วูล์ฟแฮมป์ตัน ทีมร่วมศึกพรีเมียร์ลีก ด้วยสกอร์ 2-2 ต้องไปเล่นกันต่อในนัดรีเพลย์ ซึ่งยังต้องรอยืนยันวันแข่งขันกันอีกครั้ง แต่ก็เกือบจบเส้นทางในเวลา 90 นาที หลังจาก โตติ โกเมส กองหลัง “หมาป่า” ยิงเข้าไปในจังหวะขึ้นมาเล่นลูกเตะมุม นาทีที่ 81 แต่ผู้ตัดสินจับล้ำหน้า มาเธอุส นูเนส คนเปิดลูกเตะมุมที่ขยับมาเล่นจากตำแหน่งล้ำหน้าไปก่อน แม้ว่าจะไม่มีภาพยืนยันที่ชัดเจนก็ตาม

เกมนี้ โมฮาเหม็ด ซาลาห์ ยิงให้ ลิเวอร์พูล แซงนำ 2-1 ในนาทีที่ 52 ซึ่งลูกนี้เป็นประตูที่ 173 ในสีเสื้อ “หงส์แดง” นับตั้งแต่ย้ายมาจาก โรมา ในปี 2017 ขยับขึ้นมาเป็นดาวยิงสูงสุดอันดับ 7 ของสโมสร แซงหน้า เคนนี ดัลกลิช ที่เคยทำไว้ 172 ลูก

นอกจากนี้ ซาลาห์ ยังมีโอกาสแซง 2 ตำนานลิเวอร์พูล ทั้ง ร็อบบี ฟาวเลอร์ อันดับ 6 ที่ยิงไป 183 ประตู และ สตีเวน เจอร์ราร์ด อันดับ 5 ที่ทำไว้ 186 ประตู แต่โอกาสขึ้นไปเป็นที่ 1 ของสโมสรนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจาก เอียน รัช เคยถล่มไปถึง 346 ประตู

10 ดาวยิงสูงสุดตลอดกาลของ ลิเวอร์พูล

1. เอียน รัช 346 ประตู

2. โรเจอร์ ฮันท์ 285 ประตู

3. กอร์ดอน ฮอดจ์สัน 241 ประตู

4. แบร์รี ลิดเดลล์ 228 ประตู

5. สตีเวน เจอร์ราร์ด 186 ประตู

6. ร็อบบี ฟาวเลอร์ 183 ประตู

7. โมฮาเหม็ด ซาลาห์ 173 ประตู

8. เคนนี ดัลกลิช 172 ประตู

9. ไมเคิล โอเวน 158 ประตู

10. แฮร์รี แชมเบอร์ส 151 ประตู

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.