Football Sponsored

“เชลซี” ควักค่าฉีก 105 ล้านปอนด์ ซิว “เอ็นโซ เฟร์นานเดซ” แพงสุดสโมสร

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เชลซี ยักษ์ใหญ่แห่ง พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ ทุ่มเงิน 105 ล้านปอนด์ (ประมาณ 4,370 ล้านบาท) ตามค่าฉีกสัญญาคว้า เอ็นโซ เฟร์นานเดซ มิดฟิลด์ เบนฟิกา ช่วงตลาดซื้อ-ขายฤดูหนาว

กองกลางวัย 21 ปี แจ้งเกิดเต็มตัว ในศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ คว้ารางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์ หลังเอาชนะดวลจุดโทษ ฝรั่งเศส 4-2 (ครบ 120 นาที เสมอ 3-3) ช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

เอ็นโซ ตกเป็นข่าวเชื่อมโยงกับ ลิเวอร์พูล และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทว่า “เดอะ บลูส์” ชิงลงมือก่อน โดยแจ้งต่อ “เหยี่ยวลิสบอน” ต้องการให้การซื้อ-ขายสัมฤทธิ์ผล

สัญญาปัจจุบันของ เอ็นโซ จะสิ้นสุดปี 2027 ขณะที่ เบนฟิกา พยายามรั้งนักเตะสุดชีวิต ทว่าระหว่างการพูดคุยกับ รุย คอสตา ประธานสโมสร และ ฮอร์เก เมนเดส เอเยนต์นักเตะ ปรากฏว่า “สิงโตน้ำเงินคราม” ยินดีจ่ายตามราคาฉีกสัญญา

กรณีการซื้อ-ขายประสบความสำเร็จ เอ็นโซ จะกลายเป็นนักเตะค่าตัวแพงสุดของ “สิงห์บลูส์” แซง โรเมลู ลูกากู กองหน้าไซส์ยักษ์ สมัยย้ายจาก อินเตอร์ มิลาน 97.5 ล้านปอนด์ (ราว 4,060 ล้านบาท) เมื่อปี 2021

ทีมย่านลอนดอนตะวันตก มาถึงขั้นตอนเจรจารายละเอียดส่วนตัวกับ เอ็นโซ และเอเยนต์นักเตะ

รองแชมป์เก่า คาราบาว คัพ และ เอฟเอ คัพ เร่งรัดปิดดีลตัดหน้า แมนฯ ยูไนเต็ด และ ลิเวอร์พูล ซึ่งเลือกรอยื่นข้อเสนอช่วงซัมเมอร์ 2023

เอ็นโซ ยิงประตูแรกและประตูเดียวให้ อาร์เจนตินา รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ เม็กซิโก 2-0 กลายเป็นนักเตะที่ยิงประตูด้วยอายุน้อยสุดอันดับ 2 ของทีมชาติ รองจาก ลิโอเนล เมสซี กัปตันทีม

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.