Football Sponsored

มีข่าวดีต้นปีหน้า!สื่อดังยัน แมนยู จ่อได้เจ้าของใหม่เต็มที

Football Sponsored
Football Sponsored

แฟนบอล แมนฯ ยูไนเต็ด เตรียมกรี๊ด สื่อดังเผยตระกูล เกลเซอร์ พร้อมขายสโมสรอย่างแน่นอนโดยไม่คิดเปลี่ยนใจ และคาดว่าจะมีเจ้าของใหม่เข้ามาเทคโอเวอร์ในช่วงต้นปีหน้า

แมนฯ ยูไนเต็ด ทีมลูกหนังของ พรีเมียร์ลีก ตกอยู่ในกำมือของนักธุรกิจ อเมริกัน มานาน 17 ปีแล้ว แต่เมื่อเดือนก่อนสาวก ผีแดง ได้ยินข่าวที่พวกเขาแทบไม่อยากเชื่อหูตัวเองเนื่องจากตระกูล เกลเซอร์ ประกาศขายสโมสรซึ่งเป็นสิ่งที่กองเชียร์ เร้ด อาร์มี่ เฝ้ารอมานานแล้ว และพยายามประท้วงเจ้าของทีมต่างแดนหลายรอบ แต่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะประสบผลสำเร็จ

ต่อการประกาศขายทีมของตระกูล เกลเซอร์ ส่งผลให้ ปีศาจแดง ถูกลือกับกลุ่มทุนหลายเจ้าทั้งจาก ซาอุดิ อาระเบีย , กาตาร์ , เซอร์ จิม แรทคลิฟฟ์ เศรษฐีชาว อังกฤษ ที่รวยที่สุด ,อมานซิโอ ออร์เตก้า เจ้าของแบรนด์แฟชั่น ซาร่า , แอปเปิ้ล และ แอมะซอน เป็นอาทิ

กระทั่งล่าสุดเมื่อ 29 ธ.ค. เดวิด ออร์นสตีน นักข่าวจาก ดิ แอธเลติก เผยว่า เกลเซอร์ น่าจะขายสโมสรได้ในช่วงต้นปีหลังนักธุรกิจชาวแยงกี้ถูกประเมินว่าต้องการรับทรัพย์ก้อนโต 6-7 พันล้านปอนด์ แถมมีข่าวลือตามมาหมาดๆอีกว่า เอริค เทน ฮาก กุนซือดัตช์จะไม่ได้รับงบให้ชอปปิ้งในตลาดหน้าหนาวเนื่องจากสโมสรอยู่ในระหว่างรอการเปลี่ยนเจ้าของใหม่ และต้องใช้วิธียืมนักเตะมาเสริมทัพ

“เรน แบงค์ ซึ่งดูแลกระบวนการตั้งเป้าขาย แมนฯ ยูไนเต็ด แบบเบ็ดเสร็จให้ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2023” ออร์นสตีน เอ่ยกับ เอ็นบีซี สปอร์ตส์

“ด้วยเหตุนี้ ตระกูล เกลเซอร์ จึงไม่คิดคัดค้านการปิดดีลให้ได้ในช่วงนั้น มันน่าจะเกิดขึ้นเร็ว และจะเป็นประวัติศาสตร์ของ แมนฯ ยูไนเต็ด เพราะแฟนบอลหลายรายต้องการความเปลี่ยนแปลงนี้”

“หาก เรน แบงค์ ดำเนินขั้นตอนได้อย่างลุล่วง มันก็จะเป็นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าที่เราจะได้เห็นว่าใครจะเข้ามาบริหารเพื่อทีมมุ่งสู่อนาคต”

ที่มาของภาพ : Getty

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.