Football Sponsored

ต่อเนื่อง 40 ปี! บาเยิร์น, อินเตอร์ การันตีมีนักเตะเข้าชิงบอลโลก 11 สมัยติด | Goal.com ภาษาไทย

Football Sponsored
Football Sponsored

เสือใต้และงูใหญ่จะถือครองสถิติมีนักเตะในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกต่อเนื่องมาถึง 11 สมัยติดต่อกันแน่นอนแล้ว

บาเยิร์น มิวนิค และ อินเตอร์ มิลาน กลายเป็นทีมที่มีนักเตะผ่านเข้าไปเล่นในชิงชนะเลิศศึกฟุตบอลโลกต่อเนื่องกันยาวนานถึง 11 สมัยซ้อน นับตั้งแต่เวิลด์คัพ 1982 หรือกินเวลา 40 ปีติดต่อกันเข้าไปแล้ว

ฟุตบอลโลก 2022 เพิ่งจะได้ตัวแทน 4 ทีมที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ได้แก่ อาร์เจนตินา, โครเอเชีย, ฝรั่งเศส และ โมร็อกโก

ขณะเดียวกัน ทั้ง 4 ทีม ยังมีนักเตะที่ขณะนี้อยู่กับหนึ่งในสองสโมสรอย่างบาเยิร์นหรืออินเตอร์อยู่ด้วยทั้งหมด ทำให้ทั้งบาเยิร์นและอินเตอร์จะยังคงสานต่อสถิติมีนักเตะได้มีส่วนร่วมในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นสมัยที่ 11 ติดต่อกันเหมือนกันด้วย

นักเตะจากบาเยิร์น มิวนิค และอินเตอร์ มิลาน ที่เข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 2022

อาร์เจนตินา – เลาตาโร มาร์ติเนซ (อินเตอร์)

โครเอเชีย – มาร์เซโล โบรโซวิช (อินเตอร์), โยซิป สตานิซิช (บาเยิร์น)

โมร็อกโก – นุสแซร์ มาสราอุย (บาเยิร์น)

ฝรั่งเศส – ดาโยต์ อูปาเมกาโน (บาเยิร์น), แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์ (บาเยิร์น), คิงส์ลีย์ โกมัน (บาเยิร์น), ลูกัส แอร์กน็องเดซ (บาเยิร์น *บาดเจ็บตั้งแต่เล่นนัดแรกและถอนตัวจากทีมไปแล้ว)

นักเตะที่ได้สัมผัสนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกตั้งแต่ปี 1982-2018 ขณะสังกัดบาเยิร์น

1982 – ทีมชาติเยอรมันตะวันตก : พอล ไบรท์เนอร์, โวล์ฟกัง เดรมม์เลอร์, คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเก้

1986 – ทีมชาติเยอรมันตะวันตกลงสนาม – นอร์แบร์ต เอเดอร์, โลธาร์ มัทเธอุส, ดีเตอร์ เฮอเนส ไม่ได้ลงเล่น – เคลาส์ เอาเกนธาเลอร์

1990 – ทีมชาติเยอรมันตะวันตกลงสนาม  – สเตฟาน รอยเตอร์, เยอร์เก้น โคห์เลอร์, เคลาส์ เอาเกนธาเลอร์ ไม่ได้ลงเล่น – ไรมอนด์ เอามันน์, ฮันส์ ฟลึกเลอร์, โอลาฟ โธน

1994 – ทีมชาติบราซิล : ชอร์จินโญ (ชอร์จ เด อโมริน คัมโปส)

1998 – ทีมชาติฝรั่งเศส : บิเซนเต้ ลิซาราซู

2002 – ทีมชาติเยอรมันลงสนาม – โอลิเวอร์ คาห์น, โธมัส ลิงเค, เยนส์ เยเรมีส ไม่ได้ลงเล่น – คาร์สเทน ยังเคอร์

2006 – ทีมชาติฝรั่งเศส : วิลลี ซาญอล

2010 – ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ : มาร์ค ฟาน บอมเมล, อาร์เยน ร็อบเบน

2014 – ทีมชาติเยอรมัน : มานูเอล นอยเออร์, บาสเตียน ชไวน์สไตเกอร์, โธมัส มุลเลอร์, ฟิลิปป์ ลาห์ม, โทนี โครส, มาริโอ เกิทเซ, เยโรม บัวเต็ง

2018 – ทีมชาติฝรั่งเศส : โกร็องแต็ง โตลิสโซ

นักเตะที่ได้สัมผัสนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกตั้งแต่ปี 1982-2018 ขณะสังกัดอินเตอร์

1982 – ทีมชาติอิตาลี : ลงสนาม – จูเซ็ปเป้ แบร์โกมี, กาบริเอเล โอริอาลี, อเลสซานโดร อัลโตเบลลี ไม่ได้ลงเล่น – จามปิเอโร มารินี, อิวาโน บอร์ดอน

1986 – ทีมชาติเยอรมันตะวันตก : คาร์ล- ไฮนซ์ รุมเมนิกเก้

1990 – ทีมชาติเยอรมันตะวันตก : อันเดรียส เบรห์เม, โลธาร์ มัตเธอุส, เยอร์เก้น คลินส์มันน์

1994 – ทีมชาติอิตาลี : นิโกลา แบร์ติ

1998 – ทีมชาติบราซิล : โรนัลโด้, ทีมชาติฝรั่งเศส : ยูริ จอร์เกฟฟ์

2002 – ทีมชาติบราซิล : โรนัลโด้

2006 – ทีมชาติอิตาลี : มาร์โก มาเตรัซซี

2010 – ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ : เวสลีย์ สไนจ์เดอร์

2014 – ทีมชาติอาร์เจนตินา : ลงสนาม – โรดริโก้ ปาลาซิโอ ไม่ได้ลงเล่น – ฮูโก้ คัมปันญาโร, ริคกี้ อัลบาเรซ

2018 – ทีมชาติโครเอเชีย – อิวาน เปริซิช, มาร์เซโล โบรโซวิช

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.