มีรายงานกรณีของแรงงานจำนวนกว่า 7,800 คนในโรงงานของบริษัทชื่อว่า Pou Chen Group ซึ่งโรงงานนั้นตั้งอยู่ในนครย่างกุ้ง ประเทศเมียมมา และโรงงานนี้ยังเป็นโรงงานที่ผลิตรองเท้าฟุตบอลให้กับบริษัทอาดิดาส แต่ปรากฏว่าแรงงานเหล่านี้กลับได้เงินค่าจ้างต่อวันแต่เพียงวันละ 4,800 จ๊าต หรือประมาณ 80 บาทเท่านั้น
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในกลุ่มคนงานที่ตัดเย็บเสื้อนักฟุตบอลมหกรรมกีฬาฟุตบอลโลก 2022 ที่กำลังจัดแข่งขัน ณ เวลานี้
โดยสำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์ของสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่าหลังจากที่มีการเริ่มการแข่งขันฟุตบอลโลก อีกสิ่งที่ขายดีก็คือเสื้อฟุตบอล ดังจะเห็นว่ามีแฟนๆใส่เสื้อฟุตบอลที่มีหลายราคาตั้งแต่ 90 จนถึง 150 ดอลลาร์สหรัฐฯ (3,124 บาท- 5,206 บาท) โดยบริษัทที่เป็นผู้ขายเสื้อเหล่านี้ก็คือบริษัทไนกี้และอาดิดาสที่เป็นผู้สนับสนุนชุดกีฬาอย่างเป็นทางการให้กับนักฟุตบอลในการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งในส่วนของนักฟุตบอลนั้นมีรายงานว่าแต่ละคนนั้นใส่รองเท้ารุ่นใหม่ที่มีราคาขายปลีกอยู่ที่ประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,942 บาท)
แต่คำถามสำคัญก็คือว่าผู้ที่มีส่วนในการผลิตเครื่องแต่งกายเหล่านี้ได้รับการจ่ายเงินหรือไม่
มีรายงานกรณีของแรงงานจำนวนกว่า 7,800 คนในโรงงานของบริษัทชื่อว่า Pou Chen Group ซึ่งโรงงานนั้นตั้งอยู่ในนครย่างกุ้ง ประเทศเมียมมา และโรงงานนี้ยังเป็นโรงงานที่ผลิตรองเท้าฟุตบอลให้กับบริษัทอาดิดาส แต่ปรากฏว่าแรงงานเหล่านี้กลับได้เงินค่าจ้างต่อวันแต่เพียงวันละ 4,800 จ๊าต หรือประมาณ 80 บาทเท่านั้น
ชุดเสื้อฟุตบอลโลก 2022 ของบริษัทอาดิดาส
ทั้งนี้โรงงานในประเทศเมียนมาถือว่าเป็นหนึ่งในหลายโรงงานในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวนกว่า 40 ล้านคนต้องทำงานในโรงงานเหล่านี้ ด้วยสภาพการทำงานที่ทั้งเลวร้ายและค่าจ้างที่น้อยนิดมาอย่างยาวนาน และพอมาถึงปัญหาโรคระบาด ก็ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานของคนงานเหล่านี้ย่ำแย่ขึ้นไปอีก
ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจได้เลยว่าหนึ่งในมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานี้ ส่วนหนึ่งถูกแรงงานที่กำลังถูกทำร้ายและถูกลงโทษเมื่อพวกเขาออกมาเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพและสิทธิแรงงานของตัวเอง
โดยมีรายงานว่าในช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่คนงานในโรงงานในเมียนมาได้นัดหยุดงาน เพื่อเรียกร้องให้มีการขึ้นค่าแรงไปอยู่ที่ 3.78 ดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 131 บาทต่อวัน แต่ปรากฏว่าผู้จัดการโรงงานหลายแห่งได้เรียกทหารมาที่โรงงานเพื่อควบคุมสถานการณ์ และในภายหลังก็ได้มีการไล่คนงาน 26 คนออก ซึ่งคนงานจำนวน 16 คนในกลุ่ม 26 คนนี้พบว่าเป็นสมาชิกของสหภาพโรงงาน ที่คาดกันว่ามีส่วนทำให้เกิดการประท้วงนัดหยุดงานของคนงานมากกว่า 2,000 คน
เมื่อประมาณสองสัปดาห์ที่ผ่านมา คนงานหลายคนได้ให้สัมภาษณ์ โดยพวกเขากล่าวว่าพวกเขาเชื่อว่าโรงงานกำลังใช้โอกาสนี้ลงโทษคนงานที่ไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการจัดระเบียบแรงงานในประเทศ ในช่วงเวลาที่รัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมาต้องการที่จะรื้อโครงสร้างต่างๆของประเทศที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยออกไป
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เองปัญหาเงินเฟ้อในเมียนมาที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและค่าเงินที่อ่อนยวบลง ก็ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนในเมียนมาเต็มไปด้วยความยากลำบาก โดยนับตั้งแต่การรัฐประหารยึดอำนาจเป็นต้นมา ค่าเงินจ๊าดในตอนนี้ได้ลดลงไปมากว่า 50 เปอร์เซ็นต์แล้วเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และราคาข้าวของ บริการคมนาคม และราคาค่าเช่าบ้าน ที่อยู่อาศัยก็ยังคงพุ่งสูงขึ้น ซึ่งหนึ่งในคนงานหญิงคนหนึ่งกล่าวว่าสุขภาพของเธอไม่มีอยู่แล้ว และเธอยังต้องเผชิญกับภาวะที่ไม่มีอาหารเป็นเวลาถึงสามวัน จนกระทั่งในที่สุดเพื่อนคนงานอีกคนก็ได้ซื้ออาหารมาให้เธอ
คนงานหญิงอีกคนในวัย 22 ปี ซึ่งหวังว่าจะกลับไปทำงานเดิมของเธอได้ในเร็ววันนี้ ได้ให้สัมภาษณ์โดยขอปกปิดชื่อ เพราะกลัวว่านายจ้างของเธอจะมาทำร้าย ได้กล่าวว่าเธอนั้นมีความกังวลมากเกี่ยวกับเงินที่จะนำมาจ่ายค่าเช่าห้องและเงินที่จะส่งไปยังครอบครัวที่บ้านของเธอเพื่อให้อยู่รอด ใช้ชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นเธอและคนงานคนอื่นจึงได้ขอเงินค่าจ้างเพิ่ม และตอนนี้เธอก็ตกงานแล้ว ซึ่งมันทำให้หลายอย่างยากลำบากมากกว่าเดิมอีก เพราะตอนนี้เธอไม่มีแม้แต่เงินที่จะมาซื้อข้าวกิน
ขณะที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท Pou Chen ซึ่งอยู่ ณ ประเทศไต้หวันได้ตอบอีเมลกลับมายังสำนักข่าวนิวยอร์กไทม์ โดยอีเมลระบุว่าบริษัทขอยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบในเรื่องของการจัดการเงินเดือน และการจัดการบุคลากร โดยบริษัทนั้นเคารพต่อสิทธิพนักงานในการที่จะต่อรองสิทธิต่างๆ
ส่วนบริษัทอาดิดาสก็ได้ออกแถลงการณ์เช่นกันระบุว่า “อาดิดาสมีจุดยืนคัดค้านอย่างรุนแรงในเรื่องของการเลิกจ้างเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นการละเมิดต่อมาตรฐานสถานที่ทำงานของเรา และความมุ่งมั่นที่มีมาอย่างยาวนานของเราในการจะรักษาเสรีภาพของสมาคมแรงงาน”
บริษัทอาดิดาสได้กล่าวต่อไปในแถลงการณ์ด้วยว่า “เรากำลังตรวจสอบว่าซัพพลายเออร์ของเราได้ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และเราได้เรียกร้องใหบริษัท Pou Chen คืนสถานะแรงงานที่ถูกเลิกจ้างโดยทันที”
ทั้งนี้โครงสร้างสำหรับแบรนด์แฟชั่น และเสื้อกีฬาตะวันตกชื่อดังต่างๆ บริษัทเจ้าของแบรนด์มักจะไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานการผลิต แต่จะทำสัญญากับบริษัทโรงงานหรือซัพพลายเออร์อิสระ ที่มีที่ตั้งอยู่ในแถบซีกโลกใต้ เพื่อให้ดำเนินการตัดเย็บเสื้อผ้าให้ หรือก็คือหมายความว่าเจ้าของแบรนด์เหล่านี้ไม่ได้เป็นนายจ้างสำหรับคนงานตัดเย็บเสื้อนันเอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องของกฎหมายมาตรฐานแรงงานหรือว่าสิทธิมนุษยชนตามไปด้วย
โดยไม่นานมานี้บริษัทอย่างเช่น H&M,อาดิดาส และไนกี้ได้มีการเปิดเผยห่วงโซ่อุปทานของตัวเองมากยิ่งขึ้นด้วยการเผยแพร่ข้อมูลโรงงานที่เป็นซัพพลายเออร์เสื้อผ้าของพวกเขา และบริษัทอาดิดาสก็ได้มีการจัดทำรายชื่อซัพพลายเออร์ผู้ผลิตเครื่องแต่งกายสำหรับฟุตบอลโลกในครั้งนี้ ส่วนบริษัทไนกี้ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬารวมไปถึงเสื้อฟุตบอลให้กับทีมชาติ 13 ทีม รวมไปถึงทีมฟุตบอลประเทศสหรัฐอเมริกา,อังกฤษ และบราซิล กลับไม่ยอมจะเปิดเผยรายชื่อซัพพลายเออร์แยกออกจากกันว่าบริษัทไหนผลิตอะไรบ้าง ซึ่งนี่ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะติดตามตัว
มีรายงานด้วยว่ามีโรงงานอีกแห่งในประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นของบริษัท Trax Apparel โดยโรงงานนี้มีคนงานจำนวนกว่า 2,800 คน ตัดเย็บเสื้อฟุตบอลให้กับบริษัทอาดิดาส และทีมฟุตบอลสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งในช่วงปี 2563 โรงงานแห่งนี้ได้ปลดคนงานไปแปดคน หลังจากที่คนงานเหล่านี้ได้รวมตัวกันเพื่อจะก่อตั้งสหภาพแรงงานเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพที่ทำงานให้ดียิ่งขึ้น
และในเวลาต่อมาโรงงานก็ได้คืนสถานะแรงงานให้คนงานจำนวนแค่สี่คนเท่านั้นจากทั้งหมดแปดคนที่ถูกเลิกจ้างไป โดยมีการตั้งเงื่อนไขด้วยว่าสหภาพนั้นต้องไม่ออกมาเรียกร้องสิทธิการจ้างงานให้กับคนอื่นที่ถูกเลิกจ้างไป ซึ่งสหภาพที่ไม่มีทางเลือกก็ต้องเซ็นยินยอมเงื่อนไขเหล่านี้
“ฉันต้องรอว่าเมื่อไรจะได้รับโทรศัพท์ แต่ก็ไม่เคยมีการโทรมาแต่อย่างใด” นางโซพาล โชน วัย 41 ปีกล่าว โดยเธอนั้นเป็นแรงงานที่ได้รับค่าจ้างวันละประมาณ 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ (243 บาท) สำหรับการทำงานกับจักรเย็บผ้าในโรงงาน ก่อนทีจะถูกเลิกจ้าง โดยเธอต้องใช้เวลาอีกกว่าปีครึ่งในการหางานอื่นๆ ต้องไปร้องขอญาติพี่น้องให้ช่วยดูแลลูกๆจำนวนสองคนของเธอ รวมไปถึงต้องไปกู้เงินกู้ดอกเบี้ยสูง ซึ่งตอนนี้เธอก็กำลังลำบากในการจ่ายเงินกู้เหลานี้
“ฉันเคยเชื่อในสหภาพ เพราะฉันรู้ว่าเราต้องการการคุ้มครอง แต่ตอนนี้ฉันทำได้แค่ร้องให้” นางโซพาลกล่าว
สำหรับข้อมูลของบริษัท Trax Apparel นั้นพบว่ามีบริษัทเจ้าของตั้งอยู่ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามบริษัทในประเทศไทยนั้นไม่ได้ตอบข้อซักถามของสำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์แต่อย่างใด
โรงงานของบริษัท Trax Apparel ในกัมพูชา
“ที่ผ่านมานั้นมักมีรายงานข่าวเกี่ยวกับความยากลำบากของแรงงานข้ามชาติที่ต้องเผชิญในประเทศกาตาร์ แต่กลับไม่มีการพูดถึงการให้ความสำคัญต่อคนงานตัดเสือที่ต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิแรงงานอย่างร้ายแรง”นางทูลซี นารายานาซามี ผู้อํานวยการฝ่ายรณรงค์ระหว่างประเทศของสมาคมสิทธิแรงงานที่ไม่แสวงหาผลกําไร (Worker Rights Consortium) กล่าวและกล่าวต่อไปว่าความสามารถของคนงานในการรวมตัวกันเพื่อยืนหยัดในการได้รับสภาพที่ดีขึ้นในโรงงานของพวกเขานั้นถือวาเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
เรียบเรียงจาก:https://www.nytimes.com/2022/12/01/business/world-cup-myanmar-adidas-wages.html
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธ.ยักษ์ใหญ่ออสเตรเลีย เอี่ยวเส้นทางการเงินทหารเมียนมา ก่อนถอนกิจการต้นปี 66
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากข้อหาสินบนถึงละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อพิรุธ กาตาร์จัดบอลโลก 2022
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต ทอ.แฉ นายกฯมาเลเซียเอี่ยวจัดซื้อ บ.รบ-โดรนหมื่น ล.ไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บ.ทหารรับจ้างแว็กเนอร์ เอี่ยวสัญญาเหมืองทองไม่โปร่งใส รบ.ซูดาน
- ส่องคดีทุจริตโลก:’เพนตากอน’ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ผู้แทน WHO ซีเรีย ถูกสอบใช้งบจัดปาร์ตี้ รร.หรู,สั่งเต้นสู้โควิดระบาด
- ส่องคดีทุจริตโลก:แค่เปลี่ยนธงก็รอด วิธีการโอลิการ์ชรัสเซีย นำเรือยอชต์หนีคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ ‘ซัดดัม’ นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล ‘นาจิบ’-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย ‘บ.อิสราเอล’ ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง ‘อูเบอร์ไฟล์’แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย ‘บอริส จอห์นสัน’ ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ‘รมต.สเปน’โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:’ไมโครซอฟท์’ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง ‘ดูไบ’ แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:’อีริคสัน’ ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน ‘โมซุล’
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ‘อังกฤษ’ ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ ‘วิกฤติยูเครน’
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:’อังกฤษ’ยึดทรัพย์ทุจริต’อาเซอร์ไบจาน’ แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน’เอสโตเนีย’
- ส่องคดีทุจริตโลก:’คูเวต’เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: ‘อัยการเบอร์ลิน’สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:’เพนตากอน’ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ‘อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก’ ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64