Football Sponsored

'โชคยูซอง' นักบอลเบอร์ 9 ฮอตไอจีแตก ล่าสุดยอดฟอลพุ่งทะลุล้าน | Thaiger ข่าวไทย

Football Sponsored
Football Sponsored
ภาพจาก : IG @whrbtjd

โชคยูซอง นักบอลเกาหลีใต้ เบอร์ 9 ฟุตบอลโลก 2022 หล่อสนามแตก ลงเล่นไม่กี่นาที ล่าสุดยอดติดตาม ig พุ่งทะลุ 1 ล้าน

ฟุตบอลโลก 2022 บอกเลยว่าทีมชาติเกาหลีฮอตสุด ๆ ล่าสุด โชคยูซอง นักบอลเบอร์ 9 ที่ลงเตะในนัดระหว่างเกาหลีใต้-กานา แม้จะปรากฏตัวในสนามเพียงไม่กี่นาที แต่ความหล่อของหนุ่มคยูซองกลับทำเอาสาว ๆ บนโลกออนไลน์ถามหากันให้วุ่น จนตอนนี้ยอดติดตามอินสตาแกรมของหนุ่มนักฟุตบอลคนนี้ ได้พุ่งทะลุไปถึงหลักล้าน

อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน โช คยูซอง นักบอลเกาหลีใต้ เบอร์ 9 ที่กำลังเป็นกระแสในโลกออนไลน์ขณะนี้ ได้มีผู้ติดตามอินสตาแกรมส่วนตัว @whrbtjd มากถึง 1.3 ล้านฟอลโลเวอร์เป็นที่เรียบร้อย

ก่อนหน้านัดที่เจอกับกานา โช คยูซอง กลายเป็นที่พูดถึงมาก่อนหลังจากได้ลงสนาม 16 นาทีสุดท้ายในนัดที่เกาหลีใต้เจออุรุกวัย จนมีผู้ติดตามจากหลักหมื่นเป็นหลักแสน ก่อนจะพุ่งทะยานถึงหลักล้านภายในเวลาไม่กี่วัน

ภาพจาก : IG @jeonbuk1994

มารู้จักประวัติคร่าว ๆ ของโช คยูซองกันสักนิด หนุ่มคนนี้ปัจจุบันเป็นนักบอลจากสโมสรชอนบุกฮุนไดมอเตอร์ (Jeonbuk Hyundai Motors) เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2541 ตอนนี้โชคยูซองอายุเพียง 24 ปีเท่านั้น แต่ว่าฝีมือกลับเกินอายุไปมาก

แรกเริ่มเดิมทีโชคยูซองเคยเล่นเป็นผู้เล่นกองกลางตัวรับ ช่วงที่ยังเป็นนักฟุตบอลเยาวชน และในปีแรกที่มหาวิทยาลัยกวางจู ก่อนจะย้ายมาเป็นผู้เล่นตำแหน่งกองหน้าในเวลาต่อมา

ภาพจาก : IG @jeonbuk1994

จากนั้นโชได้เข้าร่วมทีม FC Anyang ของ K League 2 เขากลายเป็นผู้ทำประตูสูงสุดอันดับสามในฤดูกาลอาชีพแรก ก่อนจะย้ายไปสังกัดภายใต้สโมสรใหม่ K League 1 ชอนบุกฮุนไดมอเตอร์ในอีกหนึ่งปีให้หลัง

ภาพจาก : IG @jeonbuk1994

โช คยูซอง ได้ใช้เวลาในการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องในระหว่างการแข่งขันฤดูกาลแรกที่จอนบุกเมื่อปี 2021 จากนั้นโชจึงได้เข้าร่วมเกณฑ์ทหารและฝึกฝนร่างกาย จนในที่สุดก็พัฒนาศักยภาพของตัวเอง กลายมาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในเคลีก 1 เมื่อปี 2565 และนำจอนบุกคว้าแชมป์เอฟเอคัพเกาหลี พ.ศ. 2565

ก่อนที่โช กับเสื้อบอลหมายเลข 9 จะสร้างผลงานน่าจับตาล่าสุด หลังจากที่ลงสนามไปทำแต้มให้เกาหลีใต้ถึง 2 ลูก ภายในเวลา 16 นาที แม้จะพ่ายให้กับทีมชาติกานา แต่เชื่อว่าแฟนกีฬาหลายคนน่าจะเทใจเชียร์ให้หนุ่มคนนี้อย่างแน่นอน.

ภาพจาก : IG @whrbtjd
ภาพจาก : IG @whrbtjd
ภาพจาก : IG @whrbtjd
ภาพจาก : IG @whrbtjd
ภาพจาก : IG @whrbtjd
ภาพจาก : IG @whrbtjd
ภาพจาก : IG @jeonbuk1994
ภาพจาก : IG @jeonbuk1994
ภาพจาก : IG @jeonbuk1994
ภาพจาก : IG @jeonbuk1994

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย จากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ชอบการเขียนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้ามไป มีประสบการณ์ในงานเขียนข่าวและบทความไลฟ์สไตล์ร่วม 1 ปีครึ่ง มีคติประจำใจว่า งานเขียนที่ใส่ความจริงและใส่ใจลงไป จึงจะทำให้ใจของผู้อ่านสั่นไหวได้

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.