Football Sponsored

แบโผทีมที่ ลิเวอร์พูล มีสิทธิ์จับติ้วชนใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย

Football Sponsored
Football Sponsored

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล จบรอบแบ่งกลุ่มของศึก ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก 2022/23 ด้วยฐานะรองแชมป์กลุ่ม ตามหลัง นาโปลี ผ่านเข้าไปเล่นในรอบ 16 ทีมสุดท้าย

90min พาผู้อ่านสำรวจรายละเอียดการจับสลากในรอบน็อคเอาท์ของ หงส์แดง ดังนี้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: จับสลากประกบคู่ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก 2022/2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย: เงื่อนไขจับติ้ว, ใครมีสิทธ์เจอใคร และกำหนดการพิธี

ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้ายจับสลากวันไหน จับสลากเมื่อไหร่

พิธีการจับสลากประกบคู่ แชมเปี้ยนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้ายมีกำหนดการในวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน เวลา 18:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย

สรุปเงื่อนไขในการจับสลาก ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย

  • การจับสลากจะแบ่ง 16 ทีมทั้งหมดออกเป็น 2 โหล แบ่งเป็นโหลทีมวาง 8 ทีม (แชมป์กลุ่ม) และโหลทีมรอง (รองแชมป์กลุ่ม) อีก 8 ทีม
  • สโมสรที่มาจากกลุ่มเดียวกัน และชาติเดียวกันจะไม่สามารถพบกันได้
  • ทีมวางจะเล่นเกมเยือนก่อนในเลกแรก ก่อนที่จะกลับไปเล่นเลกที่ 2 ในเกมเหย้า

ลิเวอร์พูล มีสิทธิ์จับสลากเจอกับทีมใดบ้างใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย?

ภายใต้เงื่อนไขทั้งหมดด้านบนทำให้ เร้ดแมชีน สามารถตัดชื่อ นาโปลี ในฐานะเพื่อนร่วมกลุ่มเอ, ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ (แชมป์กลุ่มดีที่เป็นทีมจาก พรีเมียร์ลีก), เชลซี (แชมป์กลุ่มอี) และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ (แชมป์กลุ่มจี) โดยคู่แข่งที่พวกเขามีสิทธิ์จับสลาประกบคู่แข่งขันด้วยได้แก่

  • ปอร์โต้
  • บาเยิร์น มิวนิค
  • เรอัล มาดริด
  • เบนฟิก้า

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: จับสลากประกบคู่ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก 2022/2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย: เงื่อนไขจับติ้ว, ใครมีสิทธ์เจอใคร และกำหนดการพิธี

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.