Football Sponsored

คนที่ 8 แมนยูฯ “แรชฟอร์ด” ขึ้นแท่นเด็กปั้นสโมสร ยิงครบ 100 ประตู หลังชนะเวสต์แฮม

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 31 ตุลาคม 2565 ควันหลงฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ซึ่ง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เปิดบ้านเฉือนชนะ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด 1-0 ทำให้ “ปิศาจแดง” เก็บเพิ่มเป็น 23 คะแนน ขึ้นมาอยู่อันดับ 5 ส่วน “ขุนค้อน” มี 14 คะแนนเท่าเดิม รั้งอันดับ 13 ต่อไป

เกมนี้ มาร์คัส แรชฟอร์ด ฉลองวันเกิดครบอายุ 25 ปีล่วงหน้าในวันนี้ (31 ตุลาคม) ด้วยการยิงประตูชัยให้ แมนยูฯ ในนาทีที่ 38 ซึ่งถือเป็นการยิงครบ 100 ลูกให้กับ “ปิศาจแดง” นับตั้งแต่ถูกดันจากทีมเยาวชนของสโมสร ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่เมื่อฤดูกาล 2015-16

ทำให้ มาร์คัส แรชฟอร์ด กลายเป็นผู้เล่นคนที่ 8 ของ แมนยูฯ ที่ก้าวขึ้นมาจากทีมเยาวชน แล้วสามารถยิงได้ 100 ประตูขึ้นไป ดังนี้

1. เซอร์ บ็อบบี ชาร์ลตัน 249 ประตู

2. เดนนิส วิออลเล็ต 179 ประตู

3. จอร์จ เบสต์ 179 ประตู

4. ไรอัน กิกส์ 168 ประตู

5. มาร์ค ฮิวจ์ส 163 ประตู

7. สแตน เพียร์สัน 148 ประตู

8. มาร์คัส แรชฟอร์ด 100 ประตู

ส่วนผลงานการยิงประตูของ มาร์คัส แรชฟอร์ด ในแต่ละฤดูกาลที่ลงเล่นให้ แมนยูฯ มีดังนี้

2015-16 เล่น 18 นัด ยิง 8 ประตู

2016-17 เล่น 53 นัด ยิง 11 ประตู

2017-18 เล่น 52 นัด ยิง 13 ประตู

2018-19 เล่น 47 นัด ยิง 13 ประตู

2019-20 เล่น 44 นัด ยิง 22 ประตู

2020-21 เล่น 57 นัด ยิง 21 ประตู

2021-22 เล่น 32 นัด ยิง 5 ประตู

2022-23 เล่น 15 นัด ยิง 7 ประตู *นับจนถึงเกมล่าสุด ชนะ เวสต์แฮม 1-0

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.