Football Sponsored

เพื่อความหวัง! ไทยลีก อาจจะต้องปรับโปรแกรมเมื่อกาตาร์เป็นเจ้าภาพ

Football Sponsored
Football Sponsored

หลังจากที่สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือเอเอฟซี ประกาศให้ กาตาร์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย รายการ เอเซียน คัพ 2023 โดยรอบสุดท้ายมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 24 ทีม เดิมทีจะทำการแข่งขันกันระหว่างวันที่ 16 มิ.ย.-16 ก.ค.66

แต่เนื่องจากเรื่องของอุณหภูมิในเดือนดังกล่าวนั้นมีความร้อนสูง เจ้าภาพกาตาร์ จึงยื่นเรื่องขอจัดการแข่งขันในช่วงเดือน ม.ค.67 แน่นอนว่าการเลื่อนไปจัดในเดือน ม.ค.67 ในฐานะเจ้าภาพที่ได้รับสิทธิ์สามารถกระทำได้ตามสิทธิ์ แต่ชาติต่างๆที่ผ่านเข้ารอบดังกล่าว 24 ทีมจะต้องวางแผนจัดการฟุตบอลในประเทศของตัวเองให้ลงตัวเพื่อเปิดทางให้ทีมชาติไปแข่งขันรายการเอเซียน คัพ 2023 

สำหรับไทยลีกฤดูกาลหน้า 2023-24 ที่จัดการแข่งขันแบบค่อมปีมาตั้งแต่ฤดูกาล 2020-21 อาจจะต้องปรับแผนวางแผนใหม่ในเรื่องของการจัดวางโปรแกรมการแข่งขันให้ลงตัวสำหรับภารกิจของทีมชาติไทยในเอเซียน คัพ 2023 และจะมีการแข่งขัน 23 ปี ชิงแชมป์เอเชีย 2024  ที่กาตาร์เป็นเจ้าภาพ กรณีที่ทีมชาติไทยชุดความหวังผ่านเข้ารอบสุดท้ายชิงแชมป์เอเชียเพื่อไปลุ้นตั๋วโอลิมปิก 2024 โดยเอเชียได้โควตา 3.5 ทีม 

โปรแกรมทีมชาติที่มีผลต่อโปรแกรมปกติไทยลีกฤดูกาล 2023-24

  • ฟุตบอลเอเซียน คัพ 2023 : ม.ค.67 (รอกำหนดวัน)
  • 23 ปี ชิงแชมป์เอเชีย 2024 : 10-28 ม.ค.67

โอกาสที่ลีกจะปรับโปรแกรมการแข่งขัน

  • ลีกไทยยุคใหม่จะแข่งขันข้ามปี เริ่ม ส.ค. ไปจบ พ.ค.ของอีกปี  ช่วงของการพักลีกวางไว้ที่ปลายปีเดือน ธ.ค. เพราะมีโปรแกรมการแข่งขันชิงแชมป์อาเซียน แต่ปี 2023 จะไม่มีการแข่งขันรายการอาเซียนอาจจะได้เห็นการอัดโปรแกรมเลกสองของลีกมาใส่ในช่วงเดือน ธ.ค.66 เพื่อเปิดทางให้ทีมชาติทำงานได้เต็มที่
  • การวางโปรแกรมลีกในช่วงฤดูกาล 2023-24 ถือว่าเป็นตัวแปรและกลไกสำคัญในการยกระดับทีมชาติและพัฒนาผู้เล่นในลีก เพราะก่อน เอเซียน คัพ 2023 ที่จะแข่งขันเดือน ม.ค.67 จะมีโปรแกรมแข่งขันฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง นัดแรกช่วงเดือน พ.ย.66  ห้วงเวลาดังกล่าวจะอัดแน่นไปด้วยเรื่องของโปรแกรมฟุตบอลลีก,ทีมชาติรายละเอียดดังกล่าวต้องทำงานแบบรัดกุม
  • กรณีที่ทีมชาติไทยชุด 23 ปี ผ่านเข้ารอบสุดท้ายเอเชีย จะมีข่วงโปรแกรมการแข่งขันที่ตรงกับ เอเซียน คัพ 2023 และแน่นอนว่าจะมีผู้เล่นที่คาบเกี่ยวกัน ซึ่งอาจจะต้องแยกชุดชัดเจนหากว่าเวลาการแข่งขันตรงกันหรือคาบเกี่ยวกันแบบเลี่ยงไม่ได้
  • ช่วงเดือน ม.ค.67 ลีกไทยจะมีผู้เล่นหายไปจำนวนมาก ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะเป็นช่วงพักเบรกระหว่างฤดูกาลแทน เดือน ธ.ค.ของทุกปีตั้งแต่ข้ามปี
  • ที่สุดแล้วการบริหารจัดการสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการเตรียมการให้ทีมชาติแข็งแกร่งในทุกๆด้าน บางทีอัดโปรแกรมบอลลีกเข้าไปมากนักเตะก็อาจจะโหลดกรอบเกิดอาการบาดเจ็บฟื้นตัวไม่ทัน หรือเพิ่มแมตซ์ฟุตบอลถ้วยอาจจะส่งผลกระทบเช่นกัน ความลงตัวขึ้นอยู่ที่การวางแผนของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย,บริษัทจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพและความร่วมมือของภาคีสโมสร

ที่มาของภาพ : Siamsport

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.