ใครจะได้ตัวไป “ลิเวอร์พูล” เปิดศึก “บาร์เซโลนา” แย่งคว้าอดีตแข้งแมนยูฯ
มาดูกันว่าใครจะได้ตัวไป “ลิเวอร์พูล” ยอดทีมแดนผู้ดี ตกเป็นข่าว เปิดศึกกับ “บาร์เซโลนา” เพื่อหวังคว้าตัวอดีตแข้งของ “แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด” มาร่วมทัพ
วันที่ 2 เม.ย. 64 “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล ทีมดังแห่งศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ตกเป็นข่าว เปิดศึกกับ “เจ้าบุญทุ่ม” บาร์เซโลนา ทีมชั้นนำจาก ลาลีกา สเปน เพื่อหวังคว้าตัว เมมฟิส เดปาย ตัวรุกชาวเนเธอร์แลนด์จาก “โอแอล” โอลิมปิก ลียง สโมสรชื่อดังจาก ลีกเอิง ฝรั่งเศส มาร่วมทีมหลังจบฤดูกาลนี้ จากการรายงานของ มาร์กา (Marca) สื่อชื่อดัง
ทั้งนี้ทาง เมมฟิส เดปาย โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อทำไปได้ถึง 15 ประตูกับอีก 9 แอสซิสต์ จากการลงเล่น 31 นัด พร้อมทั้งมีส่วนสำคัญในการพาสโมสรต้นสังกัดขยับขึ้นมารั้งอันดับ 3 ของตาราง โดยตามหลัง ปารีส แซงต์ แชร์กแมง และ ลีลล์ ทีมอันดับ 1-2 เพียงแค่ 3 คะนนเท่านั้น
จากความยอดเยี่ยมดังกล่าวประกอบกับการที่อดีตดาวเตะ “ปิศาจแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด วัย 27 ปีจะหมดสัญญากับสโมสรต้นสังกัดหลังจบฤดูกาลนี้ทำให้ตัวเขาได้รับความสนใจจาก “เจ้าบุญทุ่ม” บาร์เซโลนา ที่มีเจ้านายคนบ้านเดียวกันอย่าง โรนัลด์ คูมัน กุมบังเหียนอยู่ และ “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล ที่ทาง เยอร์เกน คลอปป์ เทรนเนอร์ชาวเยอรมัน อยากได้ตัวมาสร้างความอันตรายในแนวรุกเพิ่มเติม
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.