ฟานไดค์ลั่นไม่เคยสติแตกกับการโดนโห่
เฟอร์กิล ฟาน ไดค์ ปราการหลัง ลิเวอร์พูล ระบุ ไม่เคยสติแตกกับการโดนโห่ใส่เลย พร้อมพูดแบบติดตลกว่าถ้าการถูกโห่มันแลกมากับชัยชนะของทีมตนก็ไม่มีปัญหาอะไรทั้งนั้น
เฟอร์กิล ฟาน ไดค์ กองหลัง ลิเวอร์พูล สโมสรยักษ์ใหญ่แห่งศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ กล่าวว่าตนไม่เคยรู้สึกกดดันกับการโดนโห่ใส่แต่อย่างใด หลังจากในวันพุธที่ 12 ตุลาคมนี้เขาอาจจะเป็นหนึ่งในทีมชุดที่ต้องไปเยือน เรนเจอร์ส ในเกม ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบแบ่งกลุ่ม
ฟาน ไดค์ เคยเล่นให้กับ เซลติก ซึ่งเป็นคู่อริตลอดกาลของ เรนเจอร์ส ทำให้เป็นที่คาดกันว่าในเกม แชมเปี้ยนส์ ลีก นัดที่ ลิเวอร์พูล ต้องลงเล่นที่ ไอบร็อกซ์ นั้น ดาวเตะชาวดัตช์จะโดนโห่ใส่อย่างหนักหากเขาได้ลงสนาม
หลังถูกถามว่าเขาคาดว่าจะโดนแฟน เรนเจอร์ส โห่ใส่ในเกมดังกล่าวหรือไม่นั้น ฟาน ไดค์ ก็ตอบว่า “ครั้งล่าสุดที่ผมโดนโห่ใส่น่ะมันเกิดขึ้นตอนที่ผมเจอกับ อังกฤษ ในเกม เนชั่นส์ ลีก รอบรองชนะเลิศที่โปรตุเกส และวันนั้นเราก็ชนะด้วย ถ้าเกิดผมโดนโห่ใส่แต่เราได้รับชัยชนะแล้วน่ะผมก็ยินดีเลย!”
“ผมไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากเรื่องแบบนั้นหรอก ผมก็แค่พยายามที่จะเล่นด้วยฟอร์มที่ดีที่สุดของตัวเอง ซึ่งการที่จะทำอย่างนั้นได้น่ะคุณก็ต้องมีสมาธิในการเล่นแบบ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม เรารู้ดีว่าแฟนบอลของที่นั่นจะทำให้เราเจองานยาก ดังนั้นเราก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม แต่ก่อนหน้าที่จะถึงเกมนั้นเราก็มีความท้าทายครั้งใหญ่อีก 1 อันรออยู่ที่เมืองหลวงเหมือนกัน (หมายถึงเกมลีกที่เจอกับ อาร์เซน่อล)”
ที่มาของภาพ : GETTY IMAGE
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.